การนำนโยบายสภาเด็กและเยาวชนตำบลไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาสภาเด็กและเยาวชนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยการนำนโยบายสภาเด็กและเยาวชนตำบลไปสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษาสภาเด็กและเยาวชนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาการนำนโยบายสภาเด็กและเยาวชนไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ (2) เพื่อศึกษาบทบาทการดำเนินกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนตำบลดวนใหญ่ ผลการศึกษา พบว่า วัตถุประสงค์ข้อ 1 การนำนโยบายสภาเด็กและเยาวชนไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ ได้เห็นความสำคัญทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายบุคลากรที่รับผิดชอบงาน ตลอดจนการบูรณาการกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของตำบลดวนใหญ่ ทำให้การดำเนินการนำนโยบายไปปฏิบัติประสบความสำเร็จ วัตถุประสงค์ข้อ 2 การดำเนินกิจกรรมบทบาทของสภาเด็กและเยาวชน เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAR ผ่าน 2 ชุดกิจกรรม คือ ชุดกิจกรรมโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเพื่อลดปัญหายาเสพติดและเด็กติดเกมในตำบลดวนใหญ่ และชุดกิจกรรมบทบาทสภาเด็กและเยาวชนงานรำลึกพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผลการดำเนินงานสะท้อนผลให้เห็นว่า มีอุปสรรคระหว่างปฏิบัติการที่สภาเด็กและเยาวชนจัดกิจกรรมขึ้นแต่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งโดยภาพรวมประสบความสำเร็จตามแผนงานสภาเด็กและเยาวชนขององค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
เจนจิรา พวงมาเทศ. (2561). เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่. (16 มิถุนายน 2561). สัมภาษณ์.
ชานนท์ โกมลมาลย์ และคณะ. (2559). “การวิจัยประเมินผลการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน”. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 24(1).
ณัฐกร วิลัยเลิศ. เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่. (17 มิถุนายน 2561). สัมภาษณ์.
ไพบูลย์ สุทธิ. (2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนขององค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจ รักงาม. (2552). การศึกษาการมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการพัฒนากิจกรรมของสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาพื้นที่เขตสะพานสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
สิทธิชัย วิลัยเลิศ. (2561). นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่. (17 มิถุนายน 2561). สัมภาษณ์.
สุปราณี ไวมงคุณ. (2550). ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเครือข่าย กรณีศึกษาโครงการสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, สาขาการปกครองท้องถิ่น.
สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. (2555). “รูปแบบและวิธีการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. วารสาร มฉก. วิชาการ 15(30).
สมพงษ์ จิตระดับ และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการสร้างความเป็นพลเมืองดีในสภาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
Kindon, S., Pain, R. and Kesby, M., editors (2007). Participatory action research approaches and methods: connecting people, participation and place. London: Routledge.
Van Meter, Donald S.; & Van Horn, Carl E. (1975). “The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework”. Administration and Society 6(4): 445-487.