ธรรมาภิบาลของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรณีศึกษา กลุ่มอาชีพ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมาภิบาล (Good Governance) ของการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มอาชีพ ตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โดยใช้วิธีศึกษาคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ต่อคณะกรรมการบริหารงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 5 คน ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มอาชีพ สามารถทำงานบรรลุวัตถุของกองทุนคือเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับสมาชิกในการพัฒนาอาชีพและสนับสนุนกิจกรรมในการพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก และสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยกลุ่มอาชีพได้นำหลักนิติธรรมมาใช้ในเรื่องการชี้แจงเงื่อนไขและกฎระเบียบของกองทุนฯ ให้สมาชิกทุกคนรับทราบและปฏิบัติตาม คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ต้องเปิดเผยข้อมูลและจัดทำสรุปรายงานค่าใช้จ่ายให้สมาชิกและอำเภอตามหลักความโปร่งใสและคุณธรรม มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับมาอย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์กับการทำกิจกรรมของกลุ่มอาชีพมากที่สุด โดยพยายามลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม ยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นในการประชุมและเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มอาชีพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการรับสมาชิกเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่นว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิส่งเสริมการปกครอง.
เชิงชาญ จงสมชัย และสุนทรชัย ชอบยศ. (2557). ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานท้องถิ่น: สภาพ ปัญหาและแนวทางการขับเคลื่อน. มหาสารคาม: โรงพิมพ์อภิชาตการพิมพ์.
ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
ดวงตา ราชอาษา, สัญญา เคณาภูมิ, และยุภาพร ยุภาส. (2558), “แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในยุคทุนนิยม.” แพรวากาฬสินธุ์, 2 (3): 130-152.
นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). “ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด.” มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2): 117-125.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ บุญมีลี้. (2544) . ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (Indicators of Good Governance) ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2564 จาก https://kpi.ac.th/media/pdf/M8_315.pdf.
ภูดิศ นอขุนทด วัชรินทร์ สุทธิศัย และรังสรรค์ อินทน์จันทร์. (2564), “รูปแบบหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์.” สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5): 344-358.
มนต์ชัย ช่วยประสม และคณะ. (2563), “หลักธรรมาภิบาลของพนักงานต่อการปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.” มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2): 29-54.
ยอดสร้อย ยิ้มฤทธิ์. (2553). การศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะสังคมศาสตร์, ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.
รินทร์ลภัส วุฒิปรีชาสิทธิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะรัฐประศาสนศาสตร์.
วิชนี คุปตะวาทิน และศุภกานต์ มังกรสุรกาล. (2561). “ธรรมาภิบาลของไทยเป็นจริงหรือไม่.” สถาบันเทคโนโลยีแหงสุวรรณภูมิ, 4(2): 394-398.
ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว และคณะ. (2564). “การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร.” รัชตภาคย์, 15(40): 147-159.
สำนักข่าวอิสรา. (2558). รวม 600 ล.! สตง.สรุปงบกองทุนสตรีฯ 6 จว. ไม่ทำตามระเบียบ-ไร้เกณฑ์อนุมัติ. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2564 จาก https://www.isranews.org/content-page/item/42663-stng_42663.html
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2552). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ.
เอื้องฟ้า เขากลม. (2562). “หลักธรรมาภิบาล การจัดการความขัดแย้งและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ.” คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 36(2): 102-124.
Carcaba, A., Arrondo, R., & Gonzalez, E. (2022). “Does good local governance improve subjective well-being?.” European Research on Management and Business Economics, 28(2): 100192.
Omri, A. & Mabrouk, N. B. (2020). “Good governance for sustainable development goals: Getting ahead of the pack or falling behind?.” Environmental Impact Assessment Review, 83: 106388.
Kardos, M. (2012). “The reflection of good governance in sustainable development strategies.” Procedia – Social and Behavioral Sciences, 58: 116-1173.
Lam, N.V. (2002). “A Perspective on Good Governance” Bulletin on Asia-Pacific Perspectives 2002/03 : 47-56.
Biswas, R., Jana, A., Arya, K., & Ramamritham, K. (2019). “A good-governance framework for urban management.” Journal of Urban Management. 8: 225-236.