กลยุทธ์ทางการเมืองของจาณักยะในบทละครสันสกฤตเรื่อง มุทรารากษสะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบการวางกลยุทธ์ทางการเมืองของจาณักยะในบทละครสันสกฤตเรื่อง มุทรารากษสะ โดยเปรียบเทียบกับคัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะ ผลการศึกษาพบว่า จาณักยะนำรูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างรัฐของคัมภีร์อรรถศาสตร์ที่ใช้คุณหกร่วมกับอุบายสี่ โดยมีสภาพสามคอยกำกับ เพื่อทำสงครามหรือสงบศึก มากำหนดรูปแบบการวางกลยุทธ์ทางการเมืองในบทละคร มีกระบวนการเริ่มจาก (1) กำหนดนโยบายตรงกับคุณหก คือ sandhi (สันติภาพ) ว่า “จะนำอำมาตย์รากษสะมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพระเจ้าจันทรคุปตะ” เพื่อธำรงอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าจันทรคุปตะ (2) จัดทำแผนการนำนโยบายไปปฏิบัติตรงกับคุณหก คือ vigraha (การยั่วยุ) ว่า “ต้องสร้างความแตกแยกระหว่างอำมาตย์รากษสะกับพันธมิตร” (3) กำหนดแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ (3.1) ผู้ดำเนินการ คือ สายลับ (3.2) วิธีการ คือ อุบายต่างๆ ภายใต้กรอบแนวคิดของอุบายสี่ คือ sāma
(การผูกไมตรี) dāna (การให้รางวัล) bheda (การยั่วยุ) และ daṇḍa (การลงโทษ) มีวิธีการ ได้แก่ การฆ่า การสืบราชการลับ การปลอม และการหลอก (3.3) เครื่องมือ คือ วัตถุ 3 ชิ้น ได้แก่ แหวนตราประทับ จดหมายปลอม และเครื่องประดับ กระบวนการทั้งหมดใช้สภาพองค์ประกอบของรัฐ 7 ประการของฝ่ายตนและฝ่ายศัตรู คอยประเมินให้ทำการเมื่อได้เปรียบ ได้แก่ (1) kṣaya สภาพอ่อนแอ (2) sthāna สภาพเท่าเทียมกัน (3) vṛddhi สภาพแข็งแกร่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All contents and information in the manuscripts published by Journal of Political Science Critique are the authors’ opinions; thus, the authors take sole responsibility for any contents. The editorial board does not agree with or accept responsibility for the manuscripts.
All published articles, information, contents, pictures, or other things in Journal of Political Science Critique are Copyright by the Journal. All Rights Reserved. All contents may not be copied or duplicated in whole or part by any means without the prior written permission of Journal of Political Science Critique.
References
Bhishagratna, K. K. (1911). An English Translation of The Sushruta Vol.2. Calcutta: The Bharat Mihir Press.
Ghosh, M., trans. (1951). The Nātyaśāstra Ascribed to Bharata-Muni (Vol.1). Calcutta: The Royal Asiatic Society of Bengal.
Kale, M. R., trans. (1976). Viśākhadatta: Mudrārākṣasa With the Commentary of Ḍhuṇḍhirāja. (6th ed.) Delhi: Motilal anarsidass.
Kangle, R.P., trans. (2010). The Kauṭilīya Arthaśāstra. Dehi: Motial Banarsidass.
Kidchai, P. (2018). kānprīapthīap nūai rātchakān lap khē čhībī ( KGB ) khō̜ng sahaphāp sō wī yot læ nūai rātchakān lap sī ʻai ʻē ( CIA ) khō̜ng saha rat ʻō̜ mē ri kā kō̜ranī sưksā ʻitthiphon botbāt læ nāthī dān khwāmmankhong khō̜ng prathēt nai chūang songkhrāmyen ( khō̜ . sō̜ . nưngphankāorō̜isīsiphā - nưngphankāorō̜ikāosipʻet). [The Comparison Between Secret Intelligence Agencies of Soviet Union (KGB) and United States of America (CIA) in Case Study of Influence, Roles and Duties of National Security During The Cold War Period (1945 – 1991)] (Bachelor’s research paper) Thammasat University, Faculty of Liberal Arts.
La-oungsri, K. et al. (2016). ʻIndīa mahatsačhan. [The wonder that was India] Bangkok: Toyota Thailand Foundation.
Majumder, Shilpi Dutta. (2010). Concept of Espionage in Kauṭiliya Arthaśāstra: Its Relevance to Present Era. (Doctor of Philosophy’s thesis) Assam University, Department of Sanskrit, School of Languages.
Mitra, Bhaswati. (1989). Place of Mudrārākṣasa as a Political Drama in Ancient Indian Literature. (Doctor of Philosophy’s thesis). Jadavpur University, Faculty of the Graduate School of Arts.
Narain, V., edi. (2005). Kauṭilīya Arthaśāstra. Delhi: Chaukhamba Sanskrit Pratiṣthan.
Rangarajan, L.N., edi. (1992). Kauṭilīya The Arthashastra. Calcutta: Penguin Books India.
Sastri, Gaurinath. (1960). A Concise History of Classical Sanskrit Literature. Calcutta: Oxford University Press.
Wantana, S. (2018). lōk thī khit wā khunkhœ̄i ? khwāmkhit thāngkān mư̄ang Thai samai krung sī yut yā. [familiar world? Thai political thought during the Ayutthaya period] Bangkok: Department of Political Science and Public Administration, Faculty of Social Sciences, Kasetsart University.
Williams, M. M. (1986). A Sanskrit – English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.