การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Phra Prasert Santhajitto Faculty of Social Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

The Public Service, Sa n˙ gahavatthu

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ1เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของ สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร2เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3 เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คนซึ่งเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ จากประชากรซึ่งเป็นประชาชนที่เข้ามาใช้บริการที่สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จำนวน 6,074 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้กลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.962 สถิติที่ใช้การในวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บุคลากรของสำนักงานเขตปทุมวัน และประชาชนทั่วไปโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( =3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านได้แก่ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตตา พบว่าประชาชนที่เข้ามาใช้บริการที่สำนักงานเขตปทุมวันต่อการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมากทุกด้าน
  2. ผลการเปรียบเทียบการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของ สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศอายุการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และจำนวนครั้งในการใช้บริการ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ และจำนวนครั้งในการใช้บริการแตกต่างกันมีการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
  3. ปัญหาและอุปสรรคของการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของ สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 1) ด้านทานที่จอดรถไม่เพียงพอ 2) ด้านปิยวาจา บุคลากรบางครั้งพูดจาไม่ไพเราะ และไม่เป็นมิตรกับประชาชน 3) ด้านอัตถจริยาบางครั้งขาดการช่วยเหลือ เอาใจใส่ประชาชนที่มาขอรับบริการ 4) ด้านสมานัตตตา บุคลากรวางตนไม่เหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ เช่น กินขนม และเล่นอินเตอร์เน็ต ขณะทำงาน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ด้านทาน จัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอกับประชาชนที่มาขอรับบริการ 2) ด้านปิยวาจา จัดอบรมบุคลากรให้มีกิริยามารยาทในการพูดให้ไพเราะ และเป็นกันเองกับประชาชน 3) ด้านอัตถจริยาบุคลากรควรมีความกระตือรือร้นในการให้บริการประชาชนรวดเร็ว และว่องไว 4) ด้านสมานัตตตาบุคลากรควรวางตนให้เหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ เช่น ไม่กินขนม และไม่เล่นอินเตอร์เน็ต ขณะทำงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)