การรับรู้คุณค่าการผลิตผ้าทอแบบมีจิตสำนึก ที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อผ้าทอซ้ำของลูกค้าในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • สุนันทรา ขำนวนทอง
  • ลัดดาวัลย์ สำราญ
  • วราภรณ์ นาคใหม่

คำสำคัญ:

ความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำ, การรับรู้คุณค่า, การตลาดแบบมีจิตสำนึก

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา องค์ประกอบของการรับรู้คุณค่ากระบวนการผลิตแบบมีจิตสำนึก ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อของลูกค้ากลุ่มผ้าทอในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และ การวิจัยเชิงปริมาณ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์การถอดถอยเชิงพหุ เพื่อพยากรณ์ ความตั้งใจกลับมาซื้อผ้าทอซ้ำของลูกค้าที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

          ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการรับรู้คุณค่าการผลิตแบบมีจิตสำนึกที่มีอิทธิพลผลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อผ้าทอซ้ำของลูกค้าในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยพบว่าองค์ประกอบที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ด้านความมุ่งมั่นในการผลิตโดยวิธีธรรมชาติ รองลงมา ได้แก่ความใส่ใจในการผลิตปลอดภัย  ผู้วิจัยแนะนำว่าผู้ประกอบการควรสื่อสารให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการผลิตของผู้ประกอบการ ที่จะใช้วิธีธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็มีความใส่ใจในรายละเอียดของวัตถุดิบที่ใช้ที่จะไม่เป็นอันตลายแก่ผู้ซื้อ ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะช่วยยกระดับความตั้งใจกลับมาซื้อผ้าทอซ้ำได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)