ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลไบโอเมตริก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • รัชนี แตงอ่อน มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ไบโอเมตริก, สิทธิในความเป็นส่วนตัว, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลไบโอเมตริก (biometric data) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติความหมาย การตีความกฎหมายและการบังคับใช้ข้อมูลไบโอเมตริก จากการศึกษาพบว่า ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายประการ ได้แก่ ความหมายของข้อมูลไบโอเมตริก การเก็บรวบรวมข้อมูลไบโอเมตริกต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล เช่น ภาพจำลองหน้าตา จำลองม่านตา จำลองลายนิ้วมือ เป็นต้น ข้อมูลไบโอเมตริกเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (sensitive personal data) เป็นความลับที่เจ้าของข้อมูลไม่ประสงค์ให้เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งมีความแตกต่างจากข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ สกุล อายุ อาชีพ นิสัยการกิน กิจวัตรประจำวันทั่วไป เป็นต้น เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวยังไม่ชัดเจน ขอบเขต การบังคับใช้ที่คลุมเครือ จึงเป็นประเด็นสำคัญของบทความวิชาการนี้ที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อสังเกตบางประการที่แตกต่างจากกฎหมายของสหภาพยุโรป ดังนั้น บทบัญญัติที่เกี่ยวกับข้อมูลไบโอเมตริกควรได้รับการแก้ไขให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการตีความ การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)