การเมืองของนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 -2563

ผู้แต่ง

  • ลลิตภัทร สีเคน Ramkhamhaeng University

คำสำคัญ:

การเมืองของนโยบาย, ปัญหาการจราจร, รถติด, ความทันสมัย

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 - 2563 และแนวโน้มในอนาคต วิเคราะห์การใช้อำนาจรัฐในการกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานครในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และความสัมพันธ์ของตัวแสดงที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกระบวนการวิจัยเชิงเอกสารจากหนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารทางหน่วยงานราชการ กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกระบวนการสัมภาษณ์เจาะลึก เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยนำเอาแนวคิดและทฤษฎีภาวะทันสมัย แนวคิดและทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ และแนวคิดและทฤษฎีชนชั้นนำเป็นกรอบในการวิจัย

           ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครให้มีความเจริญและทันสมัยดังเช่นชาติตะวันตกให้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของประเทศไทย ส่งผลให้เมืองเกิดการขยายตัวและใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไร้ระเบียบ ขาดการวางแผนที่ดี ส่งผลให้เมืองเกิดปัญหาการจราจรที่ติดขัดและกลายเป็นปัญหาวิกฤติระดับชาติ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการใช้อำนาจรัฐของชนชั้นนำภาครัฐตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อยครั้งในประเทศไทย รวมทั้งความสัมพันธ์ของภาครัฐ ภาคเอกชน พรรคการเมือง ราชการท้องถิ่น ที่เป็นไปในลักษณะทั้งความร่วมมือและความขัดแย้งในการแก้ไขปัญหาจราจรที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการนโยบายการแก้ไขปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานคร การเมืองจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานคร รวมถึงการใช้อำนาจรัฐที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานครที่มีปริมาณหนาแน่นมากในปัจจุบัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-23 — Updated on 2022-02-07

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)