แนวทางการช่วยเหลืองานตำรวจของประชาชน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ธัชพงศ์ เรียนสุด suan sunandha rajabhat university
  • จักรวาล สุขไมตรี มหาวิทยาชลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศิโรฒน์ ภาคสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สถานีตำรวจภูธรสวี, จังหวัดชุมพร, แนวทางการช่วยเหลืองานตำรวจ

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการช่วยเหลืองานตำรวจของประชาชน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการช่วยเหลืองานตำรวจของประชาชน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 17 ท่าน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling)

         สภาพปัญหาด้านป้องกันปราบปราม ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อตำรวจ และการขาดแคลนกำลังพลในงานด้านป้องกันปราบปราม  สภาพปัญหา ด้านสืบสวน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า ประชาชนจะกลัวถึงความปลอดภัยของตนเองเมื่อได้แจ้งข่าวให้กับตำรวจกลัวจะไม่เป็นความลับ และยังขาดเครื่องมือทางด้านกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในการสืบหาตัวผู้กระทำความผิด และความไม่เข้าใจต่อพยานหลักฐานในการสืบสวน สภาพปัญหา ด้านสอบสวน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กลัวว่า จะเกิดความไม่ปลอดภัยกับตนเองในกรณีที่ตนเองเป็นเป็นพยานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กลัวคู่กรณีจะรู้ถึงกรณีที่ตนเองแจ้งข่าวให้กับตำรวจทราบ และการที่ประชาชนไม่เข้าใจถึงการรักษาสถานที่เกิดเหตุ ทำให้หลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง แนวทางช่วยเหลือตำรวจ ด้านป้องกันปราบปราม พบว่า ควรจัดให้ความรู้กับประชาชนเพื่อที่ได้ช่วยเหลืองานตำรวจ และควรจัดให้มีการจัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อใช้เป็นประโยชน์และเกิดความสะดวกในการแจ้งข่าวให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีที่มีเหตุ และควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา ที่ประชาชนมีต่อตำรวจเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการช่วยเหลืองานตำรวจ และการช่วยเหลือของประชาชนในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อที่จะให้เป็นประโยชน์กับตำรวจในด้านป้องกันปราบปราม แนวทางการช่วยเหลือตำรวจ ด้านสืบสวน พบว่า ควรเปิดให้มีการอบรมเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความรู้ในด้านงานสืบสวน ควรมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ต่างๆเพื่อให้ประชาชนสามารถที่จะแจ้งข่าวได้สะดวก หากมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น และการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดให้ปกคลุมทุกพื้นที่ แนวทางการช่วยเหลือตำรวจด้านสอบสวน ยังพบว่าควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจงานสอบสวน การมาเป็นพยานให้กับพนักงานสอบเพื่อที่จะสอบสวนให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และการรักษาสถานที่เหตุให้เหมือนเดิมก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบจะไปถึงที่เกิดเหตุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-07 — Updated on 2022-02-07

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)