A การพัฒนาการบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวของชุมชนบ้านบางแม่หม้าย ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

บรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ชุมชนบางแม่หม้าย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาด้านการบรรจุภัณฑ์ 2. เพื่อกำหนดองค์ประกอบสำคัญ จัดทำ และประเมินผลบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสารและส่งเสริมการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนบางแม่หม้าย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมระดมสมอง ใช้แบบสอบถามและแนวคำถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ในเชิงปริมาณผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 50 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ในเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้นำกลุ่มพัฒนาชุมชนบางแม่หม้าย และสมาชิก จำนวน 22 ราย จัดหมวดหมู่ข้อมูล แล้วแปลข้อมูลให้เป็นแนวคิด เพื่อเรียบเรียงตามหลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า  สภาพและปัญหาของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีรูปแบบไม่ทันสมัย ทำจากพลาสติกคุณภาพต่ำ ซึ่งมีต้นทุนถูก ขาดการจัดทำโลโก้ ตั้งชื่อแบรนด์ และอัตลักษณ์ชุมชน  การออกแบบและจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ หมี่กรอบ มีโครงสร้างเป็นพลาสติก ทรงกลม รูปแบบทันสมัย เรียบง่าย ใช้พลาสติกเกรดสูง ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “เสน่ห์นาง” โทนสีส้มแดง มีรูปหญิงสาวทรงเสน่ห์ เป็นโลโก้  บรรจุภัณฑ์ขนมเปีย มีโครงสร้างเป็นพลาสติก ทรงสี่เหลี่ยม สีน้ำตาลเข้ม ฝาเป็นพลาสติกใส ใส่ขนมเปี๊ยะจำนวน 4 ลูก ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “หวานคำแม่” ใช้โทนสีเขียว-น้ำตาล และใช้โลโก้เป็นการ์ตูนเด็กผมจุกถือถาดขนม บรรจุภัณฑ์น้ำสมุนไพร โครงสร้างเป็นขวดพลาสติก ขนาด 160 cc. ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ให้คุณสุข” ใช้นกกระสา ในวงกลมสีน้ำเงินเป็นโลโก้ สีสันเลือกสีสดตามชนิดของสมุนไพร นักท่องเที่ยวเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ และทุกบรรจุภัณฑ์ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-23 — Updated on 2022-09-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)