การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • thanapat peakoonnang suan sunandha rajabhat university
  • วิจิตรา ศรีสอน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, สุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 
และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนกับสถานภาพส่วนบุคคลและด้านปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บและรวบรวมข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2563 จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่า t-test ใช้ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ใช้ One - way ANOVA หรือ F-test

            ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ประสบการณ์ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส่วนข้อที่มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง สำหรับการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในภาพรวมมีค่า Sig < 0.05 จำนวน 1 ด้านคือ ด้านผลตอบแทน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ในการเลือกตั้งฯ พบว่า ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.078) ข้อที่มีค่าระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ประสบการณ์ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) ส่วนข้อที่มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42)  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)