รูปแบบการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ในศตวรรษที่ 21 สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • chanan chanhom suan sunandha rajabhat university
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

มหาวิทยาลัยสีเขียว, ยุทธศาสตร์การพัฒนา, สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์

บทคัดย่อ

             งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ในศตวรรษที่ 21 สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ในศตววรรษที่ 21 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ สายวิชาการ สายสนับสนุนวิชาการ และนักศึกษา และการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สายสนับสนุนวิชาการ และนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดย PEST SWOT และ TOWS Matrix วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1. สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน 2. การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. การจัดการของเสีย 4. การจัดการน้ำ 5. การคมนาคมขนส่ง และ 6. การจัดการศึกษา 2. แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ดังนี้ 1. สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน จัดสัดส่วนของพื้นที่เปิดโล่งต่อพื้นที่ทั้งหมด 2. การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 3. การจัดการของเสีย โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ 4. การจัดการน้ำ โดยการใช้ ควบคุม เก็บกัก การจัดการ 5. การคมนาคมขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6. การจัดการศึกษา ประกอบด้วย จำนวนรายวิชาและหลักสูตรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ 3. รูปแบบการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ใช้รูปแบบ SSS ได้แก่ 1. แผนยุทธศาสตร์ระดับสถาบัน ด้านบุคลากร เงินทุน การจัดการ วัสดุอุปกรณ์ และจริยธรรม 2. การตั้งเป้าหมาย ประกอบด้วย เป้าประสงค์ ระยะเวลา ผลลัพธ์ และ 3. การก้าวผ่านอุปสรรค ประกอบด้วย การเปลี่ยนผ่านภาวะผู้นำ การเงิน การสื่อสาร การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การจัดลำดับความสำคัญ การตรวจสอบ และการสร้างฐานข้อมูล โดยมีแผนขั้นตอนดำเนินการ ระยะสั้น ดำเนินการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ระยะกลาง กำหนดวิสัยทัศน์ ระบุเป้าหมาย กิจกรรม ตัวชี้วัด และระยะยาว ดำเนินการตามเป้าหมาย ติดตาม และประเมินผล มหาวิทยาลัยราชภัฏสร้างวัฒนธรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับนักศึกษา ผู้ซึ่งจะเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศกับการคาดหวังสภาพแวดล้อมที่ดีของโลกในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12 — Updated on 2022-06-28

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)