แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม กรณีศึกษา กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Wattakan Autenkull -
  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัญหาอาชญากรรม, การป้องกันอาชญากรรม, การป้องกันอาชญากรรมอย่างมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ 2. เพื่อศึกษาปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 2 ผู้กระทำความผิด (อาชญากร) หรือผู้ที่เคยกระทำความผิดและกลุ่มที่ 3 ประชาชนที่พักอาศัยอยู่เขตความรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กรุงเทพมหานคร โดยใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์กึ่งสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความหรือการแปลความจากบทสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในพื้นที่ในชุมชนที่มีความยากจน เกิดจากชุมชนที่แออัด ชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ปัจจัยด้านปัญหายาเสพติดเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การอยากทดลองของวัยรุ่น ความคึกคะนอง เกิดจากการชักชวนกัน การถูกหลอกลวงและปัจจัยปัญหาด้านเศรษฐกิจเมื่อคนไม่มีรายได้ ทำให้ก่อเหตุอาชญากรรม เช่น ลักขโมย ปล้น ชิงทรัพย์ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สาเหตุการเกิดปัญหาอาชญากรรม เกิดจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม รูปแบบของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น คือ วิ่งราวทรัพย์ ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ยาเสพติดเพื่อครอบครองและเพื่อจำหน่าย การพนันและขับรถฝ่าฝืนกฎหมายจราจร การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเกิดจากการไม่ตรวจตราความเรียบร้อยประตู หน้าต่าง รั้วบ้าน รถยนต์ จักรยานยนต์ การจัดสภาพแวดล้อมบริเวณภายในบ้าน ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อการป้องกันอาชญากรรม แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม พบว่า ในพื้นที่ต้องมีการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต้องเกิดจากความร่วมมือทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและชุมชน พัฒนารูปแบบวิธีการปฏิบัติในการแก้ปัญหาอาชญากรรมให้มีความชัดเจน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเครือข่ายภาครัฐ และภาคเอกชนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและให้บริการประชาชน การเตรียมความพร้อมในการป้องกันอาชญากรรมนั้น ต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง ส่งเสริมความรู้ในการป้องกันตนเองและจัดระเบียบชุมชนให้เกิดความปลอดภัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)