ปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การถ่ายโอน, ความล่าช้า, พลวัตการกระจายอำนาจฯบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากกระทรวงสาธารณสุขไปสังกัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายโอนอำนาจจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการถ่ายโอนอำนาจจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนายกฯ และอดีตนายกเทศมนตรีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการด้านการถ่ายโอนอำนาจ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 20 คนจากการศึกษาพบว่า ความล่าช้าการถ่ายโอนในจังหวัดนครราชสีมา ได้ผ่านกลไกและกระบวนการภายใต้หลักการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่าง ๆ ยังติดขัดเรื่องระยะเวลาที่กระชั้นชิด การสื่อสารไม่ชัดเจนของทั้งสองหน่วยงานเอง จากข้อมูลเอกสารและบริบทของนครราชสีมา ด้านพื้นที่ใหญ่ความหลากหลายของประชากรในจังหวัดทำให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาแนวทางการพัฒนาการกระจายอำนาจ และปัจจัยที่ทำให้การถ่ายโอนประสบความสำเร็จเหมือนจังหวัดอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายโอนอย่างมีคุณภาพว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้การถ่ายโอนภารกิจได้ตามแผนและระยะเวลาที่กำหนด ถึงแม้ไม่มากแต่สามารถดำเนินงานให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกสมมุติฐานที่ทำให้เกิดการพัฒนาช้า จากการปฏิวัติรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยและไม่ค่อยมีใครได้ศึกษาเป็นสิ่งที่ฉุดรั้งการถ่ายโอนอำนาจสู่ท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงจากกระทรวงสาธารณสุขมาสู่กระทรวงมหาดไทยถือเป็น พลวัตการเปลี่ยนแปลงสาธารณสุขไทย กระบวนการ รูปแบบ แนวคิดใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบข้ามกระทรวงข้อเสนอแนะ ระดับนโยบาย ควรมีนโยบายที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ ควรมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการถ่ายโอนฯ และมีการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะให้มากยิ่งขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการจัดตั้งกลวิธานที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายเพื่อติดตามสนับสนุนการถ่ายโอน โดยมีกระบวนการชี้แจงสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง ก่อน ระหว่าง และหลังการถ่ายโอนระดับพื้นที่ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล การตัดสินใจในการถ่ายโอน และการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพควรเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนถึงภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา