การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • สมชาย ธนกุสุมาลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สุริยะ ประภายสาธก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การจัดการการท่องเที่ยวของชุมชน, บริบทของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

            สำหรับบทความฉบับนี้เป็นการศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) บริบทของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนและ 3) คือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดการปรับตัวของชุมชน ผลการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นพบว่า

            การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นต้องเข้าใจบริบทของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่แท้จริง ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับการเรียนรู้วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และเทศกาลงานประเพณีต่าง ๆ เป็นศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาในพื้นที่ และเป็นการเรียนรู้เพื่อค้นหาตัวตนของตัวเองว่ามีแหล่งกำเนิดมาอย่างไร โดยศึกษาผ่านสถานที่ท่องเที่ยว คำบอกเล่า วิถีชีวิต เชื้อชาติ การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน การจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนกล่าวคือ เป็นการจัดการท่องเที่ยวโดยให้ชุมชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ สร้างงานสร้างรายได้ โดยดึงจุดแข็งในชุมชนออกมาพัฒนาไม่ว่าจะเป็นจุดแข็งด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมในชุมชน ด้านการมีปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ ด้านการจัดระเบียบการจัดการสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติวัฒนธรรม ทั้งนี้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบในการพัฒนาที่สำคัญคือมีองค์กรในการบริหารจัดการ มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน การส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกันในชุมชน การสร้างการเรียนรู้ และการมีการบริการที่ดี  แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 พบว่า มีแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมและกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในประเทศ การพัฒนาบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มุ่งเน้นการปรับตัวสู่ยุคนิวนอร์มัล การส่งเสริมการสื่อสารการตลาดด้วยภาพลักษณ์ใหม่ การกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้กลับมาท่องเที่ยวในระยะเวลาที่รวดเร็วโดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง การปรับสมดุลใหม่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีความยั่งยืน สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้แนวทางการพัฒนานั้นต้องมาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)