A โมเดลสมการโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชนส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน การมีส่วนร่วม การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐมอย่างยั่งยืนเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม จำนวน 410 ตัวอย่าง โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.876 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.912สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) พบว่า (1) แบบจำลองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ c2 = 157.35, df = 117, c2/df = 1.345, P-value = 0.0785, RMR = 0.160, GFI = 0.957, RMSEA = 0.027 และ CFI = 0.998แสดงให้เห็นว่า ค่าสถิติความสอดคล้องของโมเดลรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม อย่างยั่งยืน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานและ (2) ปัจจัยด้านบทบาทการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.46 และการมีส่วนร่วม มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.60 ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม อย่างยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการและมีระบบที่ดีจึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดี เพื่อภาครัฐและเอกชนสามารถดำเนินการบริหารจัดการควบคุมดูแลและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้