แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ประสูตร เหลืองสมานกูล นักวิจัยอิสระ
  • สุพิทักข์ โตเพ็ง นักวิจัยอิสระ
  • ชลดา ศรีสุวรรณ นักวิจัยอิสระ
  • สุนทร ผจญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม การบริหารงาน การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยอาศัยแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 404 ราย โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบแบบกระจายอย่างง่าย โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.756 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.891 สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติประเมินความกลมกลืนของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 87.99, df = 68, c2/df = 1.293, P-value = 0.052, RMSEA = 0.027, GFI = 0.975, และ AGFI = 0.944) และพบว่า ตัวแปรแฝงการมีส่วนร่วมของประชาชน สามารถส่งอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีค่าเท่ากับ 0.113 และสามารถส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการจัดการ มีค่าเท่ากับ 0.162 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตัวแปรแฝงปัจจัยด้านการจัดการ สามารถส่งอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อตัวแปรแฝงประสิทธิผลการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีค่าเท่ากับ 0.151 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถขับเคลื่อนการบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)