การปฏิบัติงานการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐ, คุณภาพรายงานการเงิน, หน่วยงานราชการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานการเงินด้วยด้วยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของหน่วยงานราชการในจังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ของหน่วยงานราชการในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 152 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเป็นสัดส่วนกับขนาดของกลุ่ม (Proportionate) โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.832 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.925 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติงานการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) อยู่ในระดับมาก ( = 3.981, S.D. = 0.286) และคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการในจังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับมาก ( = 3.827, S.D. = 0.363) ส่วนผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานการเงินด้วยด้วยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) พบว่า ปัจจัยด้านความถูกต้อง แม่นยำ ด้านความโปร่งใส และด้านความสะดวก รวดเร็วและประหยัด มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานการเงิน ด้านความเข้าใจได้ ณ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านความถูกต้อง แม่นยำ และด้านระบบการบริหารการเงินการบัญชีภาครัฐ มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานการเงิน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ณ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05ขณะที่ปัจจัยด้านความถูกต้อง แม่นยำ มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานการเงิน ด้านความเชื่อถือได้ ณ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และพบว่า ปัจจัยด้านระบบการบริหารการเงินการบัญชีภาครัฐ มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานการเงิน ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ณ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05