ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนกฤช โชควรทรัพย์ นักวิจัยอิสระ
  • จิณณ์ชญา รณิดา นักวิจัยอิสระ
  • ศุภานิช คำบุศย์ นักวิจัยอิสระ
  • ดำรงศักดิ์ เครือแก้ว นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารการเงิน, สหกรณ์ออมทรัพย์

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยและปัจจัยการบริหารงาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย จำนวน 310 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเป็นสัดส่วนกับขนาดของกลุ่ม(Proportionate) จำแนกตามกลุ่มอาชีพของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.815 และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.930 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

         ผลวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.255, S.D. = 0.789) และปัจจัยการบริหารงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.378, S.D. = 0.506) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยพบว่า ปัจจัยระดับการศึกษา มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยประสบการณ์ในการทำงานด้านการเงินและบัญชี ไม่แตกต่าง และพบว่า ปัจจัยการบริหารงานคือ ด้านกลยุทธ์ขององค์กร ด้านบุคลากร และด้านเทคโนโลยี มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)