กระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2565 ในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จริยา คล้ายหนู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กานดามณี ชัยวิชิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ช่อเพ็ชร เจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สืบสวัสดิ์ วุฒิวรดิษฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กระบวนการตัดสินใจ, การเลือกตั้ง, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2565 ในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบระดับกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2565 ในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าที และค่าเอฟ แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้านคือ ด้านการหาเสียงและด้านพรรคการเมือง ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า ประชาชนในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านนโยบายของผู้สมัคร 2. ประชาชนในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ ต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และประชาชนในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ที่มีอาชีพต่างกันกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ไม่แตกต่าง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)