The ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและผลิตภาพแรงงานในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ธีระวิทย์ วงศ์เพชร นักวิจัยอิสระ
  • สโรชินี สุขตระกูล นักวิจัยอิสระ
  • สมหมาย สีม่วง นักวิจัยอิสระ
  • พิมปภา นาควิเชียร นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ, ผลิตภาพแรงงาน, สถานประกอบการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและผลิตภาพแรงงานในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 275 ตัวอย่าง โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.872 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง = 50.235, /df = 1.116, p-value = 0.274, GFI = 0.986, AGFI = 0.972, RMR = 0.010, RMSEA = 0.015 และ CFI = 0.999 มีความเหมาะสมสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และพบว่า ปัจจัยเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิต ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.69, 083, 0.84 และ 0.60 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่า ผลิตภาพแรงงานในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านการทำงาน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิต และน้อยที่สุดคือ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.87, 0.85 และ 0.27 ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)