The ผลกระทบของนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • สฤษณ์ พรมสายใจ นักวิจัยอิสระ
  • ธีระวิทย์ วงศ์เพชร นักวิจัยอิสระ
  • สโรชินี สุขตระกูล นักวิจัยอิสระ
  • พิมปภา นาควิเชียร นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

ผลกระทบของนโยบาย, ค่าจ้างขั้นต่ำ, สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุผลกระทบของนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 325 ตัวอย่าง โดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างตัวอย่างแบบสะดวก และผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) เท่ากับ 0.965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง = 141.960, /df = 1.164, p-value = 0.105, GFI = 0.958, AGFI = 0.942, RMR = 0.114, RMSEA = 0.022 และ CFI = 0.983 มีความเหมาะสมสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และพบว่า ผลกระทบของนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการกำหนดนโยบาย มากที่สุด และรองลงมาคือ การปรับตัวจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.71 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในขณะที่ผลกระทบของนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของสถานประกอบการฯ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านการปรับตัวจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.52 โดยแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุดังกล่าว สามารถอธิบายผลกระทบของนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ร้อยละ 89.0 (R2=0.89)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)