ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้และทัศนคติ, การมีส่วนร่วม, กิจกรรมความรับผิดชอบทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้และทัศนคติ 2) ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความผิดชอบต่อสังคม 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 232 คน ภายใต้แนวคิดของ Krejcie & Morgan (1970) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ t-test, F-test และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเอ็นเทอร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้และทัศนคติ อยู่ในระดับมาก (=4.12, S.D.=.510) 2) ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก (=4.07, S.D.=.492) 3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน ไม่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยการรับรู้และทัศนคติมีผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าพยากรณ์อิทธิพลเท่ากับ .697 หรือคิดเป็น 69.70 เปอร์เซ็นต์