รูปแบบการประเมินภายในเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่

Main Article Content

มนตรี สังข์ทอง

Abstract

รูปแบบการประเมินภายในเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย รวมถึงการทำหน้าที่ตัดสินคุณค่าของโครงการรูปแบบการประเมินพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดการประเมิน 3 รูปแบบ คือ 1) แนวคิดการประเมินเชิงระบบโดยแบ่งตัวชี้วัดเป็น 3 ประเภท คือ ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลผลิต 2) แนวคิดการประเมินแบบผสานวิธี อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ละตัวชี้วัดด้วยวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และ 3) แนวคิดการประเมินแบบกัลยาณมิตร โดยเน้นการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานหรือโครงการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนา 2) สร้างศรัทธาต่อนักประเมิน 3) เพียรประเมินแบบกัลยาณมิตร และ 4) ชี้ทิศและเสริมแรงการพัฒนา สำหรับการประเมินตามรูปแบบดังกล่าวประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โครงการ ขั้นที่ 2 ประชุมพูดคุยกับผู้บริหารหน่วยจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ขั้นที่ 3 ออกแบบการประเมิน ขั้นที่ 4 กำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 5 ประเมินปัจจัยนำเข้า ขั้นที่ 6 ประเมินกระบวนการ ขั้นที่ 7 ประเมินผลผลิต ขั้นที่ 8 รายงานผลการประเมินด้วยวาจา และขั้นที่ 9 ส่งรายงานการประเมินฉบับสมบูรณ์ ภายหลังการทดลองใช้ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และจากการสะท้อนมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิ สกว. จึงได้สรุปบทเรียนจากการดำเนินการประเมินดังกล่าวและนำเสนอ “รูปแบบการประเมินภายในเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่” เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ต่อไป

Article Details

How to Cite
สังข์ทอง ม. (2017). รูปแบบการประเมินภายในเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่. Area Based Development Research Journal, 9(4), 234–241. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/106363
Section
Invited Article

References

กิตติ สัจจาวัฒนา. 2560. งานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัยของประเทศไทย.วารสาร
วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(1); 3-7.
เบญจมาศ ตีระมาศวณิช และ สีลาภรณ์ บัวสาย. 2558. การพัฒนาขีดความสามารถและบทบาทของมหาวิทยาลัยในการรับใช้พื้นที่
ด้วยกระบวนการวิจัย. บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยรับใช้พื้นที่: 15 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยไทย. โครงการความร่วมมือเพื่อ
พัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ ระหว่าง มวล. และ สกว. นครศรีธรรมราช. 167 น.
ปิยะวัติ บุญ-หลง. 2558. คำนิยม. บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยรับใช้พื้นที่: 15 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยไทย. โครงการความร่วมมือเพื่อ
พัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ ระหว่าง มวล. และ สกว. นครศรีธรรมราช. 167 น.
ปิยะวัติ บุญ-หลง. 2559. มหาวิทยาลัยกับงานวิชาการเพื่อสังคม. งานวิชาการเพื่อสังคม: หลักการและวิธีการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
สถาบันคลังสมองของชาติ. กรุงเทพฯ. 104 น.
พระพรหมคุณาภรณ์. 2560. กัลยาณมิตรธรรม 7. จาก https://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=278. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2560.
รัตนะ บัวสนธ์. 2548. ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. สวรรค์วิถีการพิมพ์. นครสวรรค์. 223 น.
วิจารณ์ พานิช. 2553. การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
256 น.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2544. วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพฯ. 369 น.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). 2551. คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา
รอบที่สอง (พ.ศ. 2549-2553). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ. 139 น.
สีลาภรณ์ บัวสาย. 2558. คำนำบนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยรับใช้พื้นที่: 15 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยไทย. โครงการความร่วมมือเพื่อ
พัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ ระหว่าง มวล. และ สกว. นครศรีธรรมราช. 167 น.
สุภางค์ จันทวานิช. 2548. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 233 น.
Greene, J.C. et al. 1989. Toward a conceptual framework for mixed-method evaluation designs. In Educational evaluation
and policy analysis. Fall. 21(3); 255-274.
Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A.J. 1985. Systematic evaluation. Kluwer–Nijhoff. Boston.