ภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นกับบริบทเชิงพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น พบว่าจุดกำเนิดของภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นมาจากการบริโภคตามวิถีชีวิตดั้งเดิมในชุมชน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมีอายุนับร้อยปีขึ้นไป ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของครัวเรือน โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก มีจุดเด่นในด้านรสชาติที่จัดจ้าน มีกลิ่นหอม และมีสีสันจากสมุนไพร ผลการศึกษาความเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นกับบริบทพื้นที่พบว่า สภาพพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายของระบบนิเวศทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงทั้งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนเป็นวิถีเกษตรกรรมที่เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำกินในพื้นที่ป่าดิบชื้น ต้องพึ่งพาปัจจัยสี่จากธรรมชาติในการยังชีพเน้นการผลิตเพื่อการพึ่งตนเองเป็นหลัก ในสังคมมีการช่วยเหลือเกื้อกูลและมีประเพณีวัฒนธรรมที่ไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษากรรมวิธีการผลิต พบว่า อาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละชนิดเริ่มคิดค้นขึ้นจากวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ในแต่ละวัน การใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร การทำอาหารของจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่ เน้นการปรุงจากพืชผัก อาหารทะเล แป้ง ข้าว น้ำตาล และมะพร้าว โดยสรุปอาหารท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับบริบทเชิงพื้นที่มีการสืบทอดกันมายาวนาน และมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย
Article Details
References
ประหยัด สายวิเชียร. 2547. อาหาร วัฒนธรรมและสุขภาพ. นพบุรีการพิมพ์. เชียงใหม่. 23 น.
ผกาวดี ภู่จันทร์ และ โสรัจวรชุม อินเกด. 2559. สำรับอาหารพื้นถิ่นเมืองพิษณุโลก. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 17(32); 3-16.
พัฒนะ วิศวะ. 2549. ความหมายของวัฒนธรรม. จาก www.manageronline.com. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560.
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2546. การสังเคราะห์ผลการวิจัยการศึกษา
แนวทางยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน อาหาร สมุนไพร และหัตถกรรม. สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพ.
สุกัญญา โกมล และคณะ. 2545. รายงานการวิจัยโครงการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาการ
ผลิตไข่เค็ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี. 121 น.
สุกัญญา ไหมเครือแก้ว และคณะ. 2550. รายงานการวิจัยการวิจัยและพัฒนาภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่นสู่ครัวโลก กรณีศึกษาผัดไท
ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี. 306 น.
สุกัญญา ไหมเครือแก้ว และคณะ. 2559. รายงานการวิจัยโครงการการศึกษาภูมิปัญญาวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี. 539 น.
สุราษฎร์ธานี. 2558. ข้อมูลจังหวัดสุราษฎร์ธานี. จาก https://www.suratthani.doae.go.th/newweb/data2/link/file-surat.pdf. สืบค้นเมื่อ
20 มีนาคม 2560.
อภิณัทธ์ บุญนาค. 2557. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารท้องถิ่นภาคใต้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม.
15(28); 3-14.
อมรา พงศาพิชญ์. 2549. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 225 น.
เอกรินทร์ พึ่งประชา และคณะ. 2557. “จากป่าสู่ครัวไทด่าน” การพัฒนาระบบองค์ความรู้ด้านฐานทรัพยากรอาหารของชุมชนในภาวะ
เปราะบางเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายเกษตร (ฝ่าย 2) มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 298 น.