รูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สุขุม คงดิษฐ์
วรรษา พรหมศิลป์
ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ
จิดาภา เร่งมีศรีสุข
ธารนี นวัสนธี

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว จำนวน 260 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการประชุมกลุ่มใหญ่กับผู้นำชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มการท่องเที่ยวนิเวศเกษตร กลุ่มที่พักในแหล่งท่องเที่ยวนิเวศเกษตร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้านในชุมชน จำนวน 50 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการศึกษา พบว่า การท่องเที่ยวนิเวศเกษตรของชุมชนสามเรือนเป็นการท่องเที่ยวเฉพาะฤดูกาลที่เห็ดตับเต่าให้ผลผลิต ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนสิงหาคม รูปแบบการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรของชุมชนสามเรือนขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรมการท่องเที่ยว และประเภทของนักท่องเที่ยว โดยมี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การสาธิตให้ความรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ สาธิตให้ความรู้ การผลิตเห็ดตับเต่า การแปรรูป การทำอาหารและของหวานจากเห็ดตับเต่า 2) การจำหน่ายสินค้าชุมชนและผลิตภัณฑ์เกษตร กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ จำหน่ายสินค้าและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เช่น น้ำเชื้อเห็ดตับเต่า 3) การให้ลู่ทางด้านธุรกิจเกษตร กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ การให้ความรู้เชิงลึกด้านธุรกิจเกษตร และ 4) การท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน ร่วมประเพณีอาบน้ำคืนเพ็ญและงานเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน ชมวิถีชีวิตและทัศนียภาพ และการพักแรมในชุมชน โดยจำแนกนักท่องเที่ยวได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวที่มาทัศนศึกษาและศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะ 2) นักท่องเที่ยวทั่วไป ที่ต้องการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ 3) นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมในชุมชน เพื่อสัมผัสวิถีชุมชนอย่างลึกซึ้ง

Article Details

How to Cite
คงดิษฐ์ ส., พรหมศิลป์ ว., รัตนพงศ์ธระ ธ., เร่งมีศรีสุข จ., & นวัสนธี ธ. (2017). รูปแบบและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวนิเวศเกษตรอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Area Based Development Research Journal, 9(4), 314–326. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/106385
Section
Research Articles

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. 2557. คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. พิมพ์
ครั้งที่ 2. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2547. การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปี 2547 โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงเกษตร. เอกสารประกอบการฝึกอบรม ระหว่างวันที่ 24 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2547. (อัดสำเนา).
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2554. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.
php?nid=6351.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2544. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโฮมสเตย์. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). กรุงเทพฯ.
โกวิทย์ พวงงาม. 2545. การสร้างชุมชนเข้มแข็ง จากพลังสร้างสรรค์ของชุมชนเพื่อสร้างทุนทางสังคมและสวัสดิการชุมชน.
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 10(1); 129-139.
ณรงค์ แก้วพิพัฒน์. 2547. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของศูนย์ส่งเสริม
และพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดกระบี่ (พืชสวน). กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ.
เทพกร ณ สงขลา. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการใช้ทรัพยากรเกษตรของชุมชน:
กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์. 6(2); 1-12.
ธารนี นวัสนธี และคณะ. 2560. แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนสามเรือนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(3); 167-177.
บุญสมหญิง พลเมืองดี และคณะ. 2559. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีส่วนร่วมของ
ชุมชนสามเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. จาก https://www.rdi.rmutsb.ac.th/2011/download/o/na/2558 /6.%B4%C3.%BA%
D8%AD%CA%C1%CB%AD%D4%A7/all.pdf. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2560.
บุษบา สิทธิการ และ สิริวัฒนา ใจมา. 2552. การพัฒนาบทบาทองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนความ
พร้อมของเสนอทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ในกลุ่มภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพ. 231 น.
รําไพพรรณ แก้วสุริยะ. 2542. เกษตรสัญจร. จุลสารการท่องเที่ยว. 3(18); 26-29.
ศูนย์ประสานงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2544. คู่มือการบริหารและจัดการท่องเที่ยวเกษตร. เอกสาร
ประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริการและจัดการ “การท่องเที่ยวเชิงเกษตร” ภายใต้โครงการไทยเที่ยวไทยและ
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน มพช. (อัดสำเนา).
สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2557. คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ. 47 น.
Buhalis, D. 2000. Marketing the competitive destination of the future. Tourist management. 21(1); 97-116.