การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและการจัดการป่าชุมชนบ้านร่องบอน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

รณิดา ปิงเมือง
เพ็ญศรี มลิทอง
สุทธิ มลิทอง
สวิง ขันทะสา
ระวี ถาวร

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและการจัดการป่าชุมชนบ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการวิจัยโดยการวางแปลงสำรวจพรรณพืช การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีชุมชน และการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ชุมชน ติดตามความเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าชุมชนร่วมกับนักวิจัย ผลจากการวางแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 50x20 ตารางเมตร จำนวน 5 แปลง พบพรรณพืชอย่างน้อย 48 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในปี พ.ศ. 2547 พบว่า ไม้ใหญ่ทุกชั้นความโต (เส้นรอบวง) มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ไม้หนุ่มมีความหนาแน่น 137 ต้นต่อไร่ และกล้าไม้มีความหนาแน่น 1,664 ต้นต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับพันธุ์สัตว์พบว่า สัตว์ปีก (นก) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีจำนวนชนิดที่พบมากขึ้น แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานมีจำนวนชนิดที่พบน้อยลง สภาพป่าบริเวณที่เคยเป็นป่าเต็งรังเริ่มมีพืชเด่นของทั้งป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผสมกัน ป่าไผ่ซางมีการขยายเพิ่มมากขึ้น ส่วนพรรณไม้ใหญ่เริ่มล้มตาย สำหรับรูปแบบการจัดการเป็นการผสมผสานระหว่างการจัดการโดยวัฒนธรรมชุมชนกับแนวทางตามยุคสมัยที่มีความรู้ทางวิชาการและนวัตกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และแนวนโยบายที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการเจรจาพูดคุยเพื่อหาแนวทางร่วมกัน การกำหนดขอบเขตป่าที่ชัดเจน การตั้งคณะกรรมการ การตั้งกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ร่วมกัน การเข้าร่วมโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้ และการเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ป่าชุมชนบ้านร่องบอนเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนเป็นต้นแบบการจัดการป่าชุมชนเพื่อให้ชุมชนอื่นๆ ได้นำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองต่อไป

Article Details

How to Cite
ปิงเมือง ร., มลิทอง เ., มลิทอง ส., ขันทะสา ส., & ถาวร ร. (2018). การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและการจัดการป่าชุมชนบ้านร่องบอน จังหวัดเชียงราย. Area Based Development Research Journal, 9(5), 375–389. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/110816
Section
Research Articles