ศักยภาพและความพร้อมบริการทางการท่องเที่ยวกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อความพร้อมบริการทางการท่องเที่ยวกว๊านพะเยา และประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการท่องเที่ยวกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ อุปสงค์และอุปทานของบริการทางการท่องเที่ยว โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำนวน 288 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t-test, F-test ประเมินความพร้อมบริการทางการท่องเที่ยวโดยใช้ค่าอัตราส่วนของคะแนนระดับความคาดหวังต่อคะแนนระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และประเมินศักยภาพของบริการทางการท่องเที่ยวด้วยเทคนิค Importance performance analysis (IPA) ผลการวิจัยด้านอุปสงค์พบว่า บริการทางการท่องเที่ยวกว๊านพะเยาในภาพรวมยังขาดความพร้อม หากพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว บริการอาหาร สินค้าและบริการ บริการขนส่ง และกิจกรรมท่องเที่ยวยังขาดความพร้อม ส่วนด้านบริการที่พักมีความพร้อมเกินความคาดหวัง ผลการทดสอบความแตกต่างของปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจพบว่า ความแตกต่างของเชื้อชาติ อายุ การศึกษา และระดับรายได้ มีผลต่อระดับความคาดหวังและความพึงพอใจด้านต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลประเมินศักยภาพของบริการทางการท่องเที่ยวพบว่า ด้านบริการอาหารเป็นเพียงด้านเดียวที่ไม่มีศักยภาพ ด้านอุปทานของบริการทางการท่องเที่ยวพบว่า ด้านบริการที่พักมีการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง ด้านสินค้าและบริการยังไม่มีอัตลักษณ์ของจังหวัดพะเยาที่ชัดเจน ด้านบริการขนส่งมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวนน้อยและยังไม่มีกิจกรรมมากเพียงพอที่จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมและพักค้างคืน จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีข้อสรุปว่า ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ และผู้ประกอบการต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการบริการ
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.