การเสริมสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานทางการตลาดเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของแหล่งท่องเที่ยวบ้านนาดี – สร้างบง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว 2) สร้างความเข้มแข็งการดำเนินงานทางการตลาดเพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และ 3) ประเมินความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการตลาดและความพึงพอใจต่อโครงการอบรมของแหล่งท่องเที่ยว บ้านนาดี – สร้างบง ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิจัย จำนวน 98 คน และ 2) กลุ่มขยายผลการดำเนินงาน จำนวน 143 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดเวทีประชาคม การประชุมกลุ่มย่อย การคัดเลือกโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประเมินผลการดำเนินงานและความพึงพอใจ สรุปบทเรียน และคืนข้อมูล ผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งของแหล่งท่องเที่ยวบ้านนาดี – สร้างบง ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมูลค่ากิจกรรมการท่องเที่ยว ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ เกิดความภาคภูมิใจ ช่วยสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และลดความเหลื่อมล้ำ โดยอาศัยโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและการปรับปรุงสภาพแวดล้อม การขยายผลการดำเนินงานสู่ภายนอกชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ และชุมชนใกล้เคียง ผลการประเมินพบว่ากลุ่มสมาชิกมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย (mean = 4.05) ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการจัดโครงการอบรมของแหล่งท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.08) ซึ่งกลุ่มสมาชิกแหล่งท่องเที่ยวจะนำผลการดำเนินงานไปปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบ้านนาดี – สร้างบง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อไป
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.