การจัดการสุขภาวะชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ค้นหารูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น กรณีศึกษาพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
ซับสมบรูณ ์ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบรูณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฐานคิดในการจัด การสุขภาวะชุมชน วิเคราะห์ทุนทางสังคมที่แสดงสถานะของตำบลและศักยภาพของชุมชน และวิเคราะห์รูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่ง ด่วน ใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อยจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคคล สถาบัน กลุ่มที่เป็นแกนกลาง และกลุ่มผู้สนใจ ผลวิจัย พบว่า ตำบลซับสมบูรณ์ มีฐานคิดการขับเคลื่อนงาน 3 ฐาน คือ (1) บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมภายใต้การพัฒนาแบบองค์รวม (2) มุ่งเน้นการพัฒนาบนฐานความยุติธรรม และ (3) ลงพื้นที่เพื่อเข้าถึงความต้องการของชุมชน บูรณาการงานโดยอาศัย 4 องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องถิ่น ท้องที่ ภาครัฐ และประชาชนเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน ทุนทางสังคมที่แสดงสถานะและศักยภาพของชุมชน ดังนี้ (1) ทุนบุคคล ที่เป็นคนดี คนเก่ง คนสำคัญ (2) ทุนแหล่งเรียนรู้องค์กรชุมชน (3) ทุนหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย (4) ทุนแหล่งประโยชน์ และ (5) หมู่บ้านจัดการตนเอง รูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ก้บชุมชนท้องถิ่นเกิดจากการนำใช้ข้อมูลตำบลมาต่อยอด จำแนกได้ 2 ส่วนคือ (1) นำใช้ทุนและศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพเฉพาะประเด็น โดยบูรณาการการลดปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยส่งเสริมทางสุขภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการตนเองของชุมชน และ (2) บูรณาการงานและกิจกรรมกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาแนวทางจัดการปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนิน ชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อม และสุขภาพ
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.