การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องล้างหัวมันเทศของชุมชนทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ฉัตรพล พิมพา

Abstract

การมีส่วนร่วมของเกษตรกร ชุมชนทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อพัฒนาเครื่องล้างหัวมันเทศโดยใช้แรงดันน้ำ เป็นการแก้ไขปัญหาในกระบวนการล้างหัวมันเทศ ซึ่งเริ่มจากนำหัวมันเทศที่ได้จากแปลงเพาะปลูกแช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ดินอ่อนตัว จากนั้นนำหัวมันเทศที่แช่น้ำแล้วบรรจุลงถุงตาข่าย ถุงละประมาณ 30 กิโลกรัม แล้วยกขึ้นฉีดน้ำเพื่อทำความสะอาดและตรวจสอบความสะอาดของหัวมันเทศ ซึ่งผลจากการสร้างเครื่องล้างหัวมันเทศโดยใช้แรงดันน้ำพบว่าปริมาณการทำงานต่อวัน (8 ชั่วโมงทำงาน) สามารถทำงานได้ 24,338 กิโลกรัมต่อวัน เทียบกับการทำงานปัจจุบันของเกษตรกรสามารถทำได้ 1,920 กิโลกรัมต่อวัน ส่งผลให้ต้นทุนในกระบวนการผลิตของเกษตรกรลดลงจาก 0.30 เป็น 0.03 บาทต่อกิโลกรัม และสามารถลดกระบวนการในการทำงานลงได้ 1 ขั้นตอน โดยเครื่องจักรมีต้นทุนในการสร้าง 35,000 บาท เมื่อนำต้นทุนที่เกษตรกรสามารถลดได้หากใช้เครื่องจักรมาคำนวณ จะพบว่าเกษตรกรสามารถคืนทุนการสร้างเครื่องจักรภายใน 13 วันหลังจากที่เริ่มใช้งาน ซึ่งจากการทำงานพบว่ากระบวนการสำคัญที่ทำให้การสร้างเครื่องล้างหัวมันเทศตรงกับความต้องการตามบริบทของพื้นที่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย กล่าวคือตั้งแต่ร่วมกัน วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ แนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน และจำเป็นต้องมีกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมด้วย เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในการพัฒนาเครื่องล้างหัวมันเทศ ซึ่งจะทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นเกิดประสิทธิภาพ


 


The Participation Development of Sweet Potato Washing Machine by Tabnam Community Bangpahan District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province


The sweet potato washing machine using water pressure has been developed with participation of Tabnam community Bangpahan district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. The traditional processes of washing consists of soaking sweet potatoes from cultivation plots for about 1 hour to remove the dirt, packing them in net bags for 30 kg, liffing each net bag up in order to clean it with high-pressured water and checking the cleanness. The machine can greatly facilitate the process of cleaning sweet potato. In 8 working hours, it can operate 24,338 kg per day whereas the traditional process was 1,920 kg per day. The production cost is decreased from 0.30 to 0.03 baht per kg and it can reduce one step of the washing process. With the machine production cost of approximately 35,000 baht, the money invested on the machine can be returned in forms of the saving in the process within 13 days of operation. From the process, the important aspect is to produce the machine matching the contextual needs of the area. The community participation is required to identifying problems, find solutions to the problems together. In the final stage, the technology transfer process leads to the learning and understanding of machine development in the effective participation.

Article Details

How to Cite
พิมพา ฉ. (2017). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องล้างหัวมันเทศของชุมชนทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Area Based Development Research Journal, 9(2), 81–89. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/95438
Section
Research Articles