การนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ สู่การปฏิบัติระดับท้องถิ่น อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริโภคยาสูบ และมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบรูปแบบการนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น ในพื้นที่วิจัยบ้านปากบ่อ ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มของผู้บริหาร/ผู้แทนส่วนราชการ แกนนำชุมชน ผู้ประกอบการ และคณาจารย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จำนวน 25 คนโดยใช้แนวคำถามกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบ กระบวนการดำเนินงาน ผลลัพธ์ และเงื่อนไขของความสำเร็จ และเก็บข้อมูลเปรียบเทียบระดับการติดนิโคตินในกลุ่มเป้าหมายที่บริโภคยาสูบจำนวน129 คนก่อนและหลังการปฏิบัติและวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปประเด็นสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาจำนวน และร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า (ก) สถานการณ์การบริโภคยาสูบในพื้นที่ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว พบว่า มีผู้สูบบุหรี่ 875 คน ร้อยละ 67 เป็นวัยทำงาน ร้อยละ 31.5 เป็นผู้สูงอายุ ร้อยละ 1.5 เป็นเยาวชน มีร้านค้าจำหน่ายบุหรี่ 58 ร้าน เคยจำหน่ายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยังคงสูบบุหรี่ / ยาเส้น จำนวน 215 คน และมาตรการควบคุมการใช้ยาสูบของอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พบว่า ไม่มีมาตรการในการใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ที่เป็นรูปธรรม แต่มีกิจกรรมรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบและเผยแพร่ผลเสียของยาสูบควบคู่กับการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนของภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด และอำเภอ (ข) กลยุทธ์การนำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบของอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ได้แก่1) การประสานเครือข่ายระดับปฏิบัติการด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ 2) ประชุมวางแผนเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม 3) ปลุกระดมต้นแบบแกนนำและครอบครัวปลอดยาสูบ ซึ่งผลการดำเนินการในระยะเวลา 3 เดือนในกลุ่มอาสาสมัครที่สูบบุหรี่/ยาเส้น พบว่าสามารถเลิกสูบได้สำเร็จ จำนวน 10 ราย และระดับการติดนิโคตินของอาสาสมัครส่วนใหญ่ลดลง(ค) ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบสู่การปฏิบัติของอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ประกอบด้วย (1) การขับเคลื่อนโดยภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมตลอดการดำเนินการ (2) มีต้นแบบแกนนำเลิกสูบบุหรี่หรือไม่สูบบุหรี่ (3) มีทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ สามารถประสานงานเครือข่ายต่างๆเพื่อขอความร่วมมือในการนำมาตรการควบคุมยาสูบต่างๆ มาใช้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยใช้ต้นแบบในการขับเคลื่อนมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบจะสามารถป้องกันและดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ได้ผลกระทบของยาสูบลดความสูญเสียและภาระโรคที่เกิดจากยาสูบได้ในระยะยาว
The National Health Assembly of the Tobacco Control Resolution to the Actions in the Local Area at Pathew District, Chumporn Province
This study is a mixed research (Mixed Methods) between quantitative and qualitative research focused on Action Research that aim to explore smoking situation and tobacco control strategies at Ban Pak Bo of Talaesup sub-district, Pathew, Chumporn Province. The patterns of the National Health Assembly (NHA) of the tobacco control resolution to the actions in the area were also examined. The semistructure questionnaires about tobacco control strategic plan, action process, outcome, and attainment state were carried out by In-depth interviews and focus group discussion with 25 informants consisting of director/delegate of government sectors, village chief, mercantile, and teachers in Pathew, Chumporn province. The Nicotine level assessment questionnaire was administered among 129 participants at pre-post after implementing the NHA of the tobacco control resolution to the actions. Content and thematical analysis were applied for qualitative data and number and percentage were used to quantitative data.
The results demonstrated (i) At Talaesup sub-district, Pathew, Chumporn Province, there were 875 smokers who were employers (67%), 31.5% were older adults, and 1.5% were youths. Fifty eight stores had ever sold tobacco to youth less than 18 years of age. Some of smokers were chronically ill persons (215 persons). Currently, there is no substantial tobacco enactment enforced in this area. Additionally, a campaign fortobacco-free and alcohol-free has been launched together among children and youth by provincialand district associations.(ii) The tobacco control strategies in Pathew, Chumporn province including1) The operational network collaboration for tobacco control, 2) Participatory strategic planning meeting, and 3) Empowerment village leader and family achieving smoking cessation. Moreover, 10 participants quit smoking within 3 months after implement the tobacco control strategies. The Nicotine level among majority of participant was declined.(iii) The accomplishment factors consist of (1) consistent cooperation among public and private organizations; (2) quit or non-smoker prototype of community leaders; and (3) proficient human resource that can cooperate all connection to implement the tobacco control resolution in community.
Thus, Pathew’s model of the NHA tobacco control resolution strategies should be replicated and implemented other areas in Chumporn province in order to prevent smoking impact among high risk or non-smoker groups and decrease loss and burden of disease from smoking in long term period.
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.