การศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เมืองชุมชนสามัคคี ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
Abstract
การศึกษาการสร้างพื้นที่ต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เมือง ของชุมชนสามัคคี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development ) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบการผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และประยุกต์ใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Participatory Action Research - PAR) ทุกขั้นตอนของการวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ บริบท ปัญหาสุขภาพ และการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนสามัคคี 2) เพื่อศึกษา ระบบและกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง 3) สร้างพื้นที่ต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนสามัคคีเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษาคือกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 74 คน กลุ่มเป้าหมายรอง คือ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน, ชมรมรักษ์สุขภาพ จำนวน 15 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่จำนวน 10 คน อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่พยาบาลศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 2 คน ใช้เครื่องมือที่สำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยทุกกระบวนการเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการมีส่วนร่วมวิจัยทุกขั้นตอน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) สถานการณ์ บริบทปัญหาสุขภาพ และการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนสามัคคี พบว่า ประชากรร้อยละ 30 เป็นกลุ่มวัยแรงงานที่อพยพย้ายถิ่นมาจากพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ทำให้ความสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนลดน้อยลง มุ่งประกอบอาชีพทำมาหากินเพื่อการอยู่รอด แต่อย่างไรก็ตามประชาชนในกลุ่มคนดั้งเดิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ยังคงมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันอยู่ร่วมกันฉันท์เครือญาติ ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีรายได้พอเพียงในการใช้จ่ายประจำเดือน มีสวัสดิการจากภาครัฐ ในส่วนปัญหาภาวะสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมีจำนวน 544 คน และเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 171 คน เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุที่ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง (ติดเตียง) จำนวน 4 คน และเมื่อมีการเจ็บป่วยเลือกใช้บริการสุขภาพที่สถานพยาบาลที่มีแพทย์ ในส่วนการดูแลสุขภาพ เน้นการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที 2) ระบบและกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง การศึกษา พบว่า มีการจัดตั้งกลุ่มในชุมชนดังนี้กลุ่มชมรมรักษ์สุขภาพ, กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน, กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ชาวคุ้ม ชมรมผู้สูงอายุ, กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ในชุมชนมีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพกลุ่ม อสม. มีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์แพทย์ชุมชนสามัคคีและหน่วยงานอื่น อีกทั้งองค์กรภาคการศึกษาและภาครัฐ ได้จัดกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน 3) ผลการสร้างพื้นที่ต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่เมือง ได้นำข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้โดยเน้นให้เข้ากับบริบทของชุมชน ได้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ (1) โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนสามัคคี (2) โดยศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสามัคคี (3)โดยวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
The Education Health Promotion of Elderly at Samukkee Community Urban of Mahasarakham Province
The Development of community- Based Health Promotion Model Toward Health of Eldery at Samukkee ‘s Urban of Mahasarakham Province was the participatory action research (PAR) . The purpose of the research. 1) To study the context of health problems and health management of elderly people in the Samukkee 2) To study the mechanisms and networks in health care for the elderly of the community 3) The development of community- based health promotion model toward health of eldery at Samukkee. The main target group for the study group 74 elderly people and the secondary target. Club members aged 15 persons / clubs Health Care 15 patients / volunteers in the village of 10 people / instructors from the Sri Maha Nursing College 10 people / staff nurse, community health centers in the 5 / officials Maha Sarakham 2 people. The instruments employed in this study were included, focus group discussion, structural in-depth interview and secondary document. The pattern for development was integrated method by Knowledge sharing, study activities, planning guidelines for the development, implementation and the expandable of the results to public. Every process focuses on the Knowledge sharing and participation. The researcher and research assistants had a closed observe, support and guided via step by step.
The results are as follows: 1) 70% of the population, mainly people in the community, 30% were aged labor migration from the area. Therefore, the relationship of the community diminished. Has an elder in the community, 544 people showed that 171 patients with chronic diseases such as diabetes, hypertension . And disabled patients for 4 people. When the illness choose hospital clinics and community health centers. In the health care Emphasizing exercise at least 3 days per week every 30 minutes.
2) Have established groups in the community. Health Care Groups, Group Tax, Group Cremation. Elderly club, village health volunteers groups. In community activities to promote healthy aging by obtaining support from the medical community unity. Educational institutions and government
3) Has brought local knowledge applied. Emphasis to the context of the community. It is a form of health promotion for the elderly three forms: (1) The involvement of the community solidarity (2) Community Health Center in Concord. (3) The Sri Maha Nursing College .
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.