การศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนานความเชื่อต่อองค์พระธาตุสีแก้ว เพื่อสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็ก และเยาวชนบ้านสีแก้วอย่างมีส่วนร่วม

Main Article Content

นราวิทย์ ดาวเรือง

Abstract

งานวิจัยและพัฒนาเรื่อง “การศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเชื่อต่อองค์พระธาตุสีแก้วเพื่อสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนบ้านสีแก้วอย่างมีส่วนร่วม” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเชื่อของชาวบ้านสีแก้วที่มีต่อองค์พระธาตุสีแก้ว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 2) เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยว กับประวัติศาสตร์ ตำนาน ความเชื่อ ต่อองค์พระธาตุสีแก้ว มาออกแบบวิธีการสร้างการเรียนรู้ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเด็กและเยาวชนบ้านสีแก้วอย่างยั่งยืน

วิธีวิทยาและเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานวิจัยประกอบด้วยการสำรวจ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การศึกษาดูงาน การเสวนากลุ่มและการจัดเวทีชุมชน การใช้แผนที่ทางความคิด (Mind Map) จัดระบบข้อมูลในการจัดเวทีชุมชน ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรตัวอย่างและประชากรที่เข้าร่วมทำงานวิจัยในครั้งนี้ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชนทั้งผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำทางธรรมชาติ ปราชญ์ ชาวบ้าน เยาวชน ครูโรงเรียนบ้านสีแก้วและโรงเรียนบ้านเหล่าขาม นายกและนักวิชาการจากเทศบาลตำบลสีแก้วและชาวบ้านสีแก้ว รวมจำนวน 60 คน

ผลจากการทำงานวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านสีแก้วเป็นชุมชนโบราณที่เคยเจริญรุ่งเรื่องมาก่อน โดยมีการขุดพบภาชนะดินเผา โครงกระดูกกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะสำริด อีกทั้งยังพบร่องรอยของคูน้ำคันดินล้อมรอบ ประกอบกับการสร้างองค์พระธาตุสีแก้วมีความเกี่ยวข้องกับตำนาน “อุรังคธาตุ”1 (Urangadhat) ซึ่งเป็นตำนาน การสร้างพระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม 2) ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้านตำนาน ความเชื่อที่ชาวบ้านมีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุสีแก้ว สามารถสร้างพลังในการต่อรองให้เทศบาลตำบลสีแก้ว หันกลับมาทบทวนข้อมูลด้านการจัดงานประเพณีชุมชน ซึ่งในที่สุดจึงมีนโยบายให้มีการจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุสีแก้วแบบเดิม โดยก่อนหน้านี้มีการจัดงานไหว้พระธาตุสีแก้วร่วมกับงานเทศกาลสงกรานต์ 3) ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นำมาสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับเยาวชน โดยให้เยาวชนจัดทำสื่อวีดีทัศน์เผยแพร่ภายใต้ชื่อ “สารคดีสีแก้ว” และ 4) กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และการจัดกิจกรรมในช่วงของการทำงานวิจัย เป็นวิธีการสร้างการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการ “สร้างคน” ในชุมชนให้เป็นนักพัฒนาที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากกระบวนการทำงานวิจัย มาต่อยอดการดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง


The Historical Study of the Belief towards Prathat Sikaew (Relic of the Buddha) in order to Strengthen Participatory Learning Process of Sikaew’s Juvenile

The historical study of the belief towards Prathat Sikaew (relic of the Buddha) in order to strengthen participatory learning process of Sikaew’s juvenile bases on the qualitative paradigm which centrals to the process of Participatory Action Research (PAR). The objectives of the study are; 1) to collect historical stories, legends and beliefs related to Prathat Sikaew by the participatory learning process. 2) to establish participatory learning process embedded in indigenous knowledge of the community history, legend and beliefs related to Prathat Sikaew in order to provide sustainable development for Sikaew’s juvenile and its community.

Methodology and research tools employed in the study are survey, participatory observation, field study, group discussion, community discussion, mind mapping, in-depth interview. Participants in the study are 60 people who are official and local community leaders, indigenous wise men, juvenile, academia from Sikaew sub-district administrative organization, teachers from Ban Sikaew and Ban Lao Kam School.

The result of the study revealed information on 1) Sikaew history community where used to be a prosperous ancient community as its evidences was found i.e. earthenware, skeletons, bronze utensils and moats. It is found that Sikaew community and its history related to the legend of Urangadhat of Prathat Pranom establishment. 2) Information on history, legend and belief related to Sikaew pagoda enable to enhance awareness to the community impact. In this light, the community’s indigenous knowledge generates legitimate power to negotiate with the state power of Sikaew sub-district administrative organization in terms of revisiting the significance of Prathat Sikaew worship ceremony in a traditional way as in the past this ceremony was occasionally held with Songkran festival. 3) Community history and indigenous knowledge are projected and put in the learning process in a form of “Sikaew Documentary” in which juvenile of Sikaew participated in the production process. 4) The participatory learning process emerged through local history and indigenous wisdom is crucial device to enhance sustainable development to Sikaew community and juvenile.

Article Details

How to Cite
ดาวเรือง น. (2014). การศึกษาประวัติศาสตร์ ตำนานความเชื่อต่อองค์พระธาตุสีแก้ว เพื่อสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาเด็ก และเยาวชนบ้านสีแก้วอย่างมีส่วนร่วม. Area Based Development Research Journal, 6(6), 86–98. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/96058
Section
Research Articles