ทุนทางมรดกทางวัฒนธรรมกับการเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตของจังหวัดน่าน
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัย “ทุนทางมรดกทางวัฒนธรรมกับการเป็นเมืองเก่าที่มีชีวิตของจังหวัดน่าน” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาและรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน (2) เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดระบบฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม จังหวัดน่าน (3) เพื่อนำฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมมาเผยแพร่ผ่านสื่อที่เหมาะสม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิทยาวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากการเก็บข้อมูลภาคสนามและพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในขอบเขตของพื้นที่ที่กำหนด แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาจัดประเภทและกลุ่มของสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม จากนั้นจึงนำข้อมูลมาทำแผนที่ดาวเทียม และนำผลการวิจัยเผยแพร่ในเว็บไซต์ งานวิจัยนี้ดำเนินการในขอบเขตพื้นที่ตัวอย่างในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ผู้ที่เข้าร่วมการวิจัยนี้ประกอบด้วย ตัวแทนชุมชนที่อยู่ในเขตเมืองเก่าจำนวน 30 ชุมชน กลุ่มฮักเมืองน่าน วัฒนธรรมจังหวัดน่าน กรมศิลปากร เทศบาลเมืองน่าน องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน และปราชญ์ชาวบ้าน ใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสำรวจแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม กล้องบันทึกภาพ โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเครื่องระบุตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีตามแนวคิดหลักการโบราณคดีชุมชน และแยกประเภทสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม แล้วจึงป้อนข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลในแผนที่ดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องของพิกัดด้วยการนำไปใช้จริง และจึงเผยแพร่ข้อมูลในเว็บไซต์
ผลการศึกษาพบว่า สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในเขตเมืองน่าน และได้จัดแบ่งออกมาเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) วัด (2) องค์ประกอบประดับเมือง (3) คุ้ม (4) เรือนพื้นถิ่นซึ่งสามารถตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัยข้อที่ 1 ในการศึกษา และรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดน่านได้ และจากผลการศึกษาข้างต้นสามารถตอบวัตถุประสงค์ข้อ 2 ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดระบบฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรม จังหวัดน่านโดยการนำเอาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้เก็บพิกัดภูมิศาสตร์มาระบุลงในแผนที่ดาวเทียม ซึ่งสามารถเห็นการกระจายตัวหรือการกระจุกตัวของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมได้ชัดเจนมากขึ้น โดยวัตถุประสงค์ข้อนี้ทำให้เกิดเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในการวิเคราะห์พื้นที่การใช้งานของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในเขตเมืองน่านจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 ได้นำผลการศึกษามาใช้เป็นฐานข้อมูลในการเผยแพร่ผ่านสื่อที่เหมาะสมซึ่งสามารถตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 คือเป็นการนำเอาฐานข้อมูลที่ได้จัดทำไว้มาจัดมาเผยแพร่ในรูปแบบของแผนที่ออนไลน์ โดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ Google Maps ซึ่งเป็นแผนที่ที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย นอกจากนั้น ยังมีรูปแบบที่ดึงดูดผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ซึ่งก็คือแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง เพื่อให้สามารถสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น หรือวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้ โดยสามารถใช้งานได้ที่เว็บไซต์ www.social.crru.ac.th/nan ซึ่งแผนที่ออนไลน์นี้สามารถระบุเส้นทางในการเดินทางไปยังแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่อยู่ในเขตเมืองน่าน รวมทั้งมีภาพแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและข้อมูลที่น่าสนใจ
The Cultural Heritage Capital and Being the Nan City Living Old Town
The study entitled “cultural heritage capital and being the Nan city living old town” aimed to (1) study and gather data on cultures in Nan (2)apply with global positioning system (GPS) in order to organize the cultures’ data base in Nan (3) expose to public via proper media by collecting primary information from field works and global positioning on cultural heritage site in assigned area, categorize into groups of buildings which are cultural heritage, and then transfer the data onto the satellite map, lastly, publish on website.
The findings revealed that there was possibility in gathering the information about cultural heritage sites in Nan. There were four categories of the sites, which include (1) temples, (2) city decorating elements, (3) mansions,and (4) local residences. These are able to be the answer to the first aim of this study. Also, the second aim is going to be found in the result of the analysis on the sites mentioned by bringing the cultural heritage location data onto the satellite map, which the expansionand the contraction can be more obviously. This purpose bring about the primary information on the use of the cultural area in Nan province.
Due to the first and the second aim, these studies were brought to be the data base for distributing via proper media which is going to be the third aim; collecting primary information and presenting by online map by adapting the technology of Google Maps, the high-quality but the easy-use map, containing primary information and travel tracking plan. It is can be found in www.social.crru.ac.th/nan , this online map can specify the cultural heritage location and how-to-get-there, where locate in Nan province, including more interesting information and pictures.