การพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบล เพื่อส่งเสริมเกษตรกรข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบลเพื่อส่งเสริมเกษตรกรข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประชากรได้แก่ บุคลากรของตำบลหาดกรวด ตำบลคอรุม ตำบลวังกะพี้ และตำบลวังดิน กลุ่มเป้าหมายใช้วิธีการเจาะจง ได้แก่ บุคคลากรในการจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบล จำนวน 16 คน การดำเนินการวิจัย มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การทบทวนสถานภาพ ศักยภาพ และสถานการณ์ปัญหาในการจัดการเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบลเพื่อสนับสนุนเกษตรกรข้าวอินทรีย์ และระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบลเพื่อสนับสนุนเกษตรกรข้าวอินทรีย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) การจัดการความรู้ และการสรุปบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกิดระบบการจัดการเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบลเพื่อส่งเสริมเกษตรกรข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) รูปธรรมของผลงาน ได้แก่ ฐานข้อมูลการผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีการรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิต มีการพัฒนาโครงการที่เชื่อมกับแหล่งทุนภายนอกโดยหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบลในตำบลคอรุม และตำบลวังดิน แกนนำเครือข่ายนักวิชาการมีพัฒนาการด้านความรู้และทักษะมากขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเกษตรกรข้าวอินทรีย์ เกิดเครือข่ายหน่วยจัดการความรู้และวิจัยชุมชนระดับตำบลและภาคีที่เกี่ยวข้องโดยมีหน่วยจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เชื่อมประสานการดำเนินงาน เช่น เกิดโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาวะบ้านกองโค โครงการพัฒนาเครือข่ายส่งเสริมการจัดการเกษตรปุ๋ยอินทรีย์เพื่อสุขภาวะของบ้านห้วยปอบ
A Tambon Research Management Unit Network Management System Development to Promote Organic Rice Farmers in Uttaradit Province
This research aims was developed a Tambon Research Management Unit network management system to promote organic rice farmers in Uttaradit Province by mixed method research. Populations were personnel of Hatkruat Sub District, Korrum Sub District, Wangkapee Sub District and Wangdin Sub District. Target groups were personnel of Tambon Research Management Unit amount 16 persons by purposive sampling. The research had two phases; 1) Reviewed status and the potential problems in a Tambon Research Management Unit to support organic rice farmers. 2) Developed a Tambon Research Management Unit Network System to promote organic rice farmers. Data were collected by participant observation, focus Group discussion, in-depth Interview, knowledge management and summarizing. Data were analyzed by frequency and content analysis.
The results showed that: 1) There was the network management system a Tambon Research Management Unit to promote organic rice farmers in Uttaradit Province. 2) Performance were organic rice production database, a project connected with external funding by Tambon Research Management Unit of Korrum Sub District and Wangdin Sub District. Network backbone scholars have developed knowledge and skills. There was the Tambon Research Management Unit network with coordinate the implementation by Research management unit of Uttaradit Rajabhat University.