การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งอารยธรรมบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนาที่ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลด้านโบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนบ้านโนนวัดและพัฒนารูปแบบการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยโดยการ ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ชุมชนในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 15 ชุมชน และมีจุดเน้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ประชากรที่ร่วมปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านบ้านโนนวัด ประชาชนในพื้นที่บ้านโนนวัดและพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ ในเขตตำบลพลสงคราม นักเรียน ครู พระสงฆ์ นักวิจัยโบราณคดีชาวต่างชาติและชาวไทย ผู้นำองค์กรปกครองและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสำรวจพื้นที่พร้อมแบบสำรวจสภาพชุมชน แบบบันทึกการสังเกต และบันทึกผลการประชุมปฏิบัติการในวาระต่าง ๆ อาทิ การผสานการเรียนรู้การขุดค้นโบราณคดีของคนในชุมชน การเตรียมการและการดำเนินกิจกรรมทอดผ้าป่าและทำขวัญข้าว การก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ชั่วคราว การเตรียมความพร้อมคนในชุมชนเพื่อการนำชมศูนย์เรียนรู้ชั่วคราว ในกิจกรรมเรียนรู้การประดิษฐ์ท่ารำจากภูมิปัญญาการต้มเกลือประกอบกับการศึกษาและใช้วงมโหรีในชุมชน จนถึงการนำเสนอชุดการแสดง การสำรวจความเห็น การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มในกิจกรรมการสำรวจวิสาหกิจชุมชน การจัดค่ายศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และการประเมินชุดความรู้สำหรับใช้ในแหล่งเรียนรู้ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมๆ กันทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามกิจกรรมการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษาได้เป็นข้อมูลบริบทชุมชนเชิงชาติพันธุ์วรรณนา วิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรม สังคมของคนในชุมชนบ้านโนนวัด คุณค่าของการเป็นแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดที่เป็นแหล่งอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างต่อเนื่องจากยุคหินใหม่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปแบบการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ที่ต้องมีการบูรณาการทุนทางสังคมวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของชุมชนตามแนวทางวิสาหกิจชุมชน สามารถพัฒนาเป็นชุดความรู้ที่เป็นเอกสาร จัดเป็นนิทรรศการและการเตรียมพัฒนาแหล่งเรียนรู้รองรับผลการศึกษาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นที่ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการได้ด้วยตนเอง ภายใต้การหนุนเสริมของภาคีการพัฒนาที่ต้องเชื่อมโยงกันตามภารกิจของแต่ละภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง ตลอดไป
Study of Ban Non Wat Pre-historical Community Learning Resource Center Pol Songkram Sub-district, Nonsoong District, Nakhon Ratchasima Province.
This research was the research and development study which used participatory action research methodology. The aims of this research were 1) to study the information of Ban Non Wat community in these aspects: Archaeology; Economics Society; Lifestyles; and Culture; and 2) to develop the model of local learning resources center for pre-historical civilization of Ban Non Wat Tambon Pol Songkram Amphoe Non-Soong Nakhon Ratchasima. The fifteen communities in Tambon Pon Songkram were selected for the population while focusing on Ban Non Wat archaeology historical site. The research teams were composed of the community leaders, the Ban Non Wat local wisdoms, the villagers in those communities, such as : people, students, teachers, monks, the leaders of government sectors, and also the foreigners and Thai researchers. The research tools were the Management Information System (MIS), the observation form, the work-shop recorded form, the opinion form, the in-depth interview, the focus group, the learning camping, the exhibition, the traditional ceremony, and the learning package for evaluation. Both of qualitative and quantitative data were analyzed and synthesized during the process of this study.
The results found that: Ban Non Wat community was developed continuously from pre-historical era up to present. The model of learning resources center development with the integration of social, culture, tradition, social fund, and the community economical drive could be developed in the form of learning packages, the displays , and the documents for the local community learning center. The people in those communities could also manage and administer the center by themselves under the development sectors' supports.