การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของของป่าในด้านการใช้ประโยชน์จากป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ของของป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ทำการศึกษา เพื่อได้ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการจัดการหรือใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางในการช่วยให้ชุมชนอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามและการเทียบราคาผลิตภัณฑ์จากป่ากับราคาตลาดในพื้นที่ ทำการศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่างของประชากรในพื้นที่ ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งครัวเรือนทั้งหมด 6 หมู่บ้าน คัดเลือกโดยวิธี Simple Random Sampling คิดเป็นร้อยละ 10 ของกลุ่มชาวบ้านทั้งหมดได้เท่ากับ 95 ตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในหมู่บ้านที่มีการใช้ประโยชน์จากป่าสงวนแห่งชาติอมก๋อยการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การคำนวณมูลค่าของป่า (NTFPs) ที่พัฒนามาจากการคำนวณ Value of the Gross Village Product (GVP) Calculated เป็นแบบจำลองพื้นฐานทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน แล้วรวมเป็นผลผลิตทั้งหมู่บ้าน ผลการศึกษาพบว่ามูลค่ารวมจากพืชของป่าที่พบในพื้นที่ศึกษา 14,214,928 บาทต่อครัวเรือนทั้งหมด มูลค่ารวมจากของป่าที่เป็นสัตว์อาหาร 22,128,860 บาทต่อครัวเรือนทั้งหมด และมูลค่ารวมทั้งหมดของรายได้จากของป่า 36,343,788 บาทต่อครัวเรือนทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าสงวนแห่งชาติอมก๋อย เพราะว่าชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ได้มีการนำข้อมูลการประเมินมูลค่าของของป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อยไปใช้ประโยชน์โดยการเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของของป่าในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการตระหนักถึงการอนุรักษ์ป่าให้คงอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน และได้มีการออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันอนุรักษ์ของป่าไว้สำหรับการเก็บผลผลิตในปีถัดไป
Economic Evaluation of Non-timber Forest Products for Benefits from Omkoi National Forest Reserve, Chiang Mai Province
The survey research project is integrated with quantitative and qualitative research.The purpose of this research is to evaluate of nontimber forest products (NTFPs) for benefits at Omkoi National Forest Reserve asused the data for efficiency decision and management forest resources by sustainable community with forest. Research tools were at collecting data from questionnaires and a comparable data with market price in the area. The samplings were populated in Omkoi sub-district, Omkoi district, Chiangmai provincewhocomposed 6 villages. A simple random sampling was 10 percent of the population therefor the value were 95 samples. A collecting data was a specific sampling that used Omkoi National Forest Reserve. Analysis and synthesis research estimated of non-timber forest products (NTFPs).A model of the village economy is developed and the value of the Gross Village Product (GVP) calculated which based on the village economy for explaining the GVP. Valued of NTFPs Results, NTFPs’ plant was14,214,928 baht/total households, NTFPs’ animal was22,128,860 baht/total households, and total NTFPs was36,343,788 baht/total households. The results showed abundance in Omkoi National Forest Reserve because people can get NTFPs all year. The results are distributed to community in abundance in forest which instigate of forest conservation, sustainable with the community, then they had a regulation about the conservation forest for NTFPs next years.
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.