การพัฒนาศักยภาพในการจัดการอุทกภัยและศูนย์พักพิงอุทกภัยบ้านช่างหม้อ ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และสถานการณ์การเกิดอุทกภัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบ้านช่างหม้อ 2) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดอุทกภัยและผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย และ 3) แสวงหาแนวทางเพื่อการพัฒนาศักยภาพในการจัดการอุทกภัยและศูนย์พักพิงอุทกภัยโรงเรียนบ้านท่าข้องเหล็กอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กับชาวบ้านช่างหม้อประกอบด้วย (ก) นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ด้านเครื่องเคลือบดินเผาและด้านเซรามิค และด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 4 คน (ข) ผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าคุ้ม สมาชิกสภาเทศบาล อสม. คณะกรรมการชุมชนพร้อมรับภัยพิบัติ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ และเยาวชน จำนวน 22 คน (ค) หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้อำนวยการและครูโรงเรียนบ้านท่าข้องเหล็ก บุคลากรเทศบาล ตำบลคำน้ำแซบ จำนวน 6 คน รวมจำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชาคม การสำรวจบริบทและทรัพยากรต่างๆภายในชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ คืนข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำเสนอในเชิงพรรณนาตามประเด็นคำถามการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 แม่น้ำมูลเอ่อล้นไหลเข้าท่วมหมู่บ้านช่างหม้อ ระดับสูง 2.31 เมตร ประชาชน 158 ครัวเรือน ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ และได้อพยพไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงอุทกภัยโรงเรียนบ้านท่าข้องเหล็กในเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ตรงกับช่วงเปิดเทอม ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของโรงเรียน รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค จึงเกิดการกระทบกระทั่ง ไม่สบายใจระหว่างชาวบ้านช่างหม้อกับโรงเรียน ผลการพัฒนาศักยภาพในการจัดการอุทกภัยและศูนย์พักพิงอุทกภัยโรงเรียนบ้านท่าข้องเหล็ก ด้วยการจัดทำแผนการจัดการอุทกภัยและศูนย์พักพิงอุทกภัย การจัดองค์กรชุมชน และสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังและจัดการในชุมชนร่วมกับเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ โรงเรียนบ้านท่าข้องเหล็กและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการการจัดการอุทกภัยและศูนย์พักพิงอุทกภัยอย่างมีส่วนร่วม แบ่งการจัดการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเกิดภัย ระยะระหว่างเกิดภัย และระยะหลังเกิดภัย เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือ ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากอุทกภัย และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับโรงเรียนบ้านท่าข้องเหล็กรวมทั้งมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ชุมชนมีรายได้ทดแทนจากการที่ไม่สามารถปั้นเตาในช่วงอุทกภัยอีกด้วย
Developing Capacity for Community Participation in Flood Management and Flood Relief center in Banchangmor Village, Khamnamsab Sub-district, Warin Chamrab District, Ubon Ratchathani Province
This research aims to 1) study Banchangmor's flood problems and flood situations from the past to present; 2) study flood factors and flood effects; and 3) find solutions for developing capacity for community participation in flood management and aid center in Takonglek school. The mixed methods, qualitative and quantitative research method and Participatory Action Research (PAR), were used in the study. People participated in the PAR research were (a) four political academics from Ubon Ratchathani University; (b) 22 community leaders, namely; head of the village, assistants to head of the village, heads of the sub-village, municipality members, health volunteers, committees of the disaster preparation community; ( c) related government agencies, namely; the director and teachers of Takonglek school, 6 government officer in Khamnamsab municipality, total 32 persons. Data were obtained by in-depth interview, community context and resources survey, workshop and field study. Quantitative data were analyzed and synchronized qualtitatively by using descriptive statistics. Qualitative data were analyzed by using text analysing, grouping, and returning data for confirming the results. Qualitative data were presented descriptively according to research questions.
The research found that according to the flood situation in 2011, water from the Mun river have fluctuated Banchangmor village at 2.31 meters high. 158 households were unable to stay at their houses. They had been evacuated to the flood relief center in Takonglek school from September to October. During their evacuation, the school was still operated. This situation brought the effects of the school's teaching, cleaning, and costing which can be led to the disagreement between Banchangmor villagers and the school. According to the result of capacity building in flood management and flood relief center in Takonglek school by creating the plan for flood management and flood relief center, the community organization, and network for community participation in flood monitoring from Khamnamsab municipality, Takonglek school and related government and private sectors in flood managemnet and flood relief center. The flood management plan has been made in three phase; before the disaster, during the disaster, and after the disaster. This is one of the resiliences to enhance aid effectiveness, reduce risks and effects from flood, and solve the disagreement with Takonglek school and to provide the workshop for the community in order to have their incomes, which can compensate from their pottery occupation during the flood period.
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.