ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) การท่องเที่ยวโดยชุมชนของเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร ระยะที่ 2

Main Article Content

เบญจมาศ ณ ทองแก้ว

Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถในการรองรับทางการท่องเที่ยว และสร้างรูปแบบกลไกเฝ้าระวังผลกระทบที่เหมาะสมต่อการรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว ดำเนินการในพื้นที่วิจัยชุมชนเกาะพิทักษ์หมู่ที่ 14 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประชากรที่เข้าร่วมการวิจัยประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มเยาวชน กลุ่มโฮมสเตย์ กลุ่มแม่บ้าน และสมาชิก อบต. ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นทีมวิจัยชาวบ้านรวมทั้งสิ้น 10 คน ทั้งนี้โดยปรับใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยและทีมได้ร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา ด้านกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสังคม จิตวิทยา และด้านเศรษฐกิจจากผลการศึกษาในปีที่ 1 เพื่อสรุปผลความเปลี่ยนแปลง และสร้างมาตรการการจัดการและนำมาสู่การปฏิบัติจริง ผลการศึกษาพบว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ พื้นที่พักค้าง พื้นที่ลานจอดรถ และห้องน้ำ-ห้องสุขา มีการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับปานกลางของขีดความสามารถในการรองรับได้ (At&Approaching CC) ด้านนิเวศวิทยาชุมชน ได้แก่ การจัดการขยะมีการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับปานกลางของขีดความสามารถในการรองรับได้ และด้านคุณภาพน้ำมีการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ (Below CC) สำหรับด้านสังคมจิตวิทยามีการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับปานกลางของขีดความสามารถในการรองรับได้ และน้ำเพื่อการอุปโภคมีการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับใกล้เคียงขีดความสามารถในการรองรับได้ (Exceeding CC) ทีมวิจัยสร้างมาตรการ กลไกเฝ้าระวัง และชุดความรู้ด้านการบริหารจัดการภายใต้แนวคิด “คิดร่วม ทำร่วม ต่อยอดร่วมกัน” โดยการทดลองนำมาตรการจัดการขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวสู่การปฏิบัติจริง ได้แก่ มาตรการด้านขยะ จำนวน 5 ข้อ ด้านคุณภาพน้ำ จำนวน 3 ข้อ ด้านกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 7 ข้อและด้านสังคม จิตวิทยา จำนวน 3 ข้อ ผลการทดลองพบว่า มาตรการและกลไกเฝ้าระวัง มีความเหมาะสมต่อการรองรับการท่องเที่ยวให้อยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุดสอดคล้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร

 

Carrying Capacity for Community Based Tourism at Koh Phithak, Chumphon Province Phases II.

This research is applied research. The objectives of this research were to access the carrying capacity and to design suitable impact protection system and determine the level of the number of tourists that do not damage tourism site. The studied area is Koh Phithak community is located in Langsuan district, Chumphon province. People participating in this research were selfselecting sample of young people, homestay group, housewife group, and Tambon administration. The researcher team ecology assessment of the concerning carrying capacity (garbage and quality of the environment), physical structures, and facilities, social phychology and economy. Leads the lesson leant to create the measure and mechanism to monitor by raising tourism carrying capacity to action.

The results of the study presented that the researcher set 27 indicators for tourism carrying capacity. Field studies and secondary data review were employed in collecting data. For the tourism carrying capacity assessment, we found that physical carrying capacity such as residential space, parking and rest rooms / toilets were used at moderate level (At & Approaching CC). Ecological carrying capacity, the waste management was at moderate level while water quality was below carrying capacity level (Below CC). For social psychology carrying capacity, it was at moderate level. Additionally, the water usage consumption was exceeded the carrying capacity (Exceeding CC).

The research team developed the suitable impact protection systems and policies, and management approaches under the idea of “Think Together, Do Together, Continue Together”. Many of the tourism carrying capacity management approaches were tested through actual practice. For instance, 5 waste management policies, 3 water quality control policies, 3 physical management policies, 4 facility management policies, and 3 psychology policies. The results of the approaches testing revealed that the aforementioned approaches are suitable for keeping tourism carrying capacity at a secure level and leading to the greatest benefits which hamonize with communitybased tourism of Koh Phithak, Chumphon.

Article Details

How to Cite
ณ ทองแก้ว เ. (2014). ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) การท่องเที่ยวโดยชุมชนของเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร ระยะที่ 2. Area Based Development Research Journal, 6(4), 79–93. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/96933
Section
Research Articles