รูปแบบมาตรการการสร้างความปลอดภัยบนถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงหมายเลข 24 อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods ) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Action Research: PAR) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ความไม่ปลอดภัยบนทางหลวงหมายเลข 24 พฤติกรรมการขับขี่รถของนักศึกษาและชาวบ้าน ทัศนคติของนักศึกษาและชาวบ้านต่อความไม่ปลอดภัยทางถนน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย และหารูปแบบมาตรการที่เหมาะสมในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม พื้นที่ศึกษาคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 จากสี่แยกตลาดเจริญศรีถึงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ผู้ร่วมกระบวนการวิจัย รวม 655 คน แบ่งเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ 55 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ 600 คน ประกอบด้วย (ก) หน่วยงานราชการ ได้แก่ รองนายกเทศบาลตำบลเมืองศรีไคและเทศบาลตำบลแสนสุข นายกเทศบาลตำบลธาตุ สารวัตรตำรวจภูธรวารินชำราบ สารวัตรตำรวจทางหลวงอุบล หมวดการทางวารินชำราบ (ข)สถาบันการศึกษา และโรงเรียนได้แก่ อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบัววัดและบ้านธาตุ รวมทั้ง พยาบาลจากวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร (ค) ตัวแทนเอกชน ได้แก่ เจ้าของหอพัก ผู้จัดการตลาดเจริญศรี และเจ้าของโรงสีข้าว โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักศึกษาและชาวบ้านในชุมชนสองข้างถนน ตั้งแต่ตลาดเจริญศรีถึงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การจัดเวทีประชุมปรึกษาหารือ การร่วมกันวิเคราะห์จุดเสี่ยง แบบสัมภาษณ์ กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง และการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน
ผลการศึกษา พบว่า มี“จุดเสี่ยง” 8 จุด คือ หน้าตลาดเจริญศรี สาเหตุเกิดจากการจอดรถซ้อนคันไม่เป็นระเบียบ จุดกลับรถบ้านไม้ค้างตลาดเจริญศรี สาเหตุเกิดจากการขับรถย้อนศร จุดกลับรถหน้าโรงสีแหลมทอง สาเหตุเกิดจากรถบรรทุกวิ่งเข้าออกโรงสี ไม่มีป้ายเตือน จุดกลับรถบ้านหนองโก สาเหตุเกิดจากจุดกลับรถที่แคบไม่มีช่องชะลอกลับรถ ไม่มีไฟกระพริบเตือน ทางโค้งบัววัด สาเหตุเกิดจากขับรถเร็ว ไม่มีไฟกระพริบเตือน จุดกลับรถหน้าอนามัยที่ 7 สาเหตุเกิดจากการขับรถย้อนศรและการแบ่งช่องเดินรถไม่ชัดเจน จุดไฟแดงหน้าประตู A1 ทางเข้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สาเหตุเกิดจากการขับรถย้อนศรตรงเข้าไปในมหาวิทยาลัย ไม่มีสัญญาณไฟ จุดกลับรถหน้าโรงเรียนบ้านศรีไค สาเหตุเกิดจากจุดกลับรถที่แคบ ไม่มีช่องชะลอกลับรถ และเป็นจุดที่ตรงกับแยกถนนสายรอง นักศึกษาและชาวบ้าน ขับขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศรกันมากที่หน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หน้าศูนย์อนามัยที่ 7 จากตลาดเจริญศรีไปยังจุดกลับรถบ้านไม้ค้าง ไม่สวมหมวกกันน็อก นักศึกษาและชาวบ้าน มีความเห็นว่าอุบัติเหตุทางถนนมักเกิดจากการขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นส่วนมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย คือ1) การสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ตระหนักถึงภัยอันตรายของอุบัติเหตุ 2) การเป็นเจ้าของร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 3) การได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุไม่ว่าตนเองหรือญาติพี่น้อง 4) รูปแบบกิจกรรมที่ดึงความสนใจ 5) การได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน จากการคิดการทำร่วมกันจนนำไปสู่ผลประโยชน์สาธารณะ และ 6) ผู้ที่มีจิตอาสามีเวลาว่าง และรูปแบบมาตรการสร้างความปลอดภัยอย่างมี 4 รูปแบบคือ 1) การปรับปรุงสภาพทางกายภาพถนนและสิ่งแวดล้อม โดยกำจัดจุดเสี่ยง 2) การรณรงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึก 3) การปลูกฝังวินัยจราจรให้กับเด็กเยาวชน 4) การเชื่อมประสานภาคีเครือข่าย ผลการศึกษาที่นำไปปรับใช้ที่เป็นรูปธรรม เช่น ตลาดเจริญศรีซึ่งเป็นเอกชนปรับปรุงคลองระบายน้ำของกรมทางหลวงเป็นพื้นที่จอดรถ ตำรวจเข้ามาจัดระเบียบ กวดขันจับกุมผู้ขับขี่รถย้อนศร กรมทางหลวง ตั้งแท่งแบริเออร์ที่จุดกลับรถหนองโกเพื่อให้เฉพาะรถเล็กกลับได้ ตั้งแท่งคอนกรีตจากหัวเกาะกลางที่จุดโรงเรียนบ้านศรีไคออกไป 90 เมตร เพื่อไม่ให้กลับรถตรงทางแยก ติดตั้งไฟกระพริบเตือนทางโค้งบัววัด ทำลูกระนาดชะลอความเร็วและการติดตั้งป้ายเตือนให้ระวังรถบรรทุกเข้าออกใกล้กับโรงสีข้าวเอกไพบูลย์
Models and Measures of Road Safety Promotion : Case Study of the Highway No 24 in Warin Chamrab District of Ubon Ratchathnai Province.
This research is based on Mixed Methods of quality and quantity research, with emphasis on Participatory Action Research (PAR). The main objective is to study the dangerous points on Highway Number 24; the car/motorcycle driving behavior of students and local residents; the students’ and local residents’ attitude toward road dangers; the factors affecting road safety culture creation through public participation; to identify appropriate measures to promote road safety culture through public participation. The area of study stretches from Charoensri Market Intersection to Ubon Ratchathani University campus totally eight kilometers. Related agencies and organizations are Mueangsrikhai Sub district Municipality, Saensuk Sub district Municipality, That Sub district Administrative Organization, Warin Chamrab police, highway police, Highway Department, Ubon Ratchathani University, Sirindhorn Public Health College, dormitories, Charoensri Market, shops and rice mills. The main target groups are students and local residents of communities along the Highway Number 24 in Warin Chamrab District of Ubon Ratchathani Province. The main research methodology is an active workshop to promote mutual understanding of participants. Data collection is conducted through public participation, interviews, and tape recording. There are also regular meetings among research team members so as to identify concrete models and measures.
The results show that there are 8 dangerous spots: (1) in front of Charoensri Market (double parking and parking disorder); (2) U-turn spot at Maikhang Village near Charoensri Market (driving in the reversing direction); (3) U-turn spot in front of Laemthong Rice Mill (no warning sign of trucks getting in and out), (4) Nongko U-turn spot in front of the Rice Mill (main cause of car accidents at this sport is narrow road and there is no space for a car to reduce its speed before making U-turn and being hit by a following car); (5) sharp curve at Buawat Village (speedy traffic but no warning signboard), (6) U-turn spot in front of the 7th Regional Public Health Office (driving in the reversing direction and unclear traffic lanes); and (7) traffic light spot in front the main gate A 1 of Ubon Ratchathani University campus (driving in the reversing direction into the campus, and (8) U-turn spot in front of Srikhai Village (not enough space for the traffic and not wearing helmet). The result shows that students and local residents believe traffic rule violation is the main cause of road accidents. They are willing to participate in road safety creating activities if they have free time and the activities are interesting enough. Four models of road safety promotion with public participation are recommended. First, to improve road conditions and to identify the risky spots in the area. Second, to promote the public awareness of road safety with a variety of activities. Third, to promote traffic disciple among children and young people in this area. Four, network expansion. There are also concrete recommendations from the result. For example, sewage in front to Charoensri Market should be improved to provide more space for parking lots. Police should take an active role in enforce the traffic law. Highway police should setup barriers at Nong Ko U-turn point and only small cars should be allowed to make a U turn. Barriers should be set up in front of Bansrikhai School to prevent the drivers from making a U turn. Flash lights should be installed at Buawat Curve. Speed bumpers should be constructed. There should be also warning signs before the entrance to Ekpaiboon Rice Mill, for instance.
Article Details
Area Based Development Research Journal values copyright protection and licensing to safeguard author rights and facilitate the appropriate dissemination of research. Our policies ensure openness, accessibility, and attribution. Authors retain copyright ownership, and articles are published under a Creative Commons Attribution License (CC BY), allowing sharing, adaptation, and proper attribution. Authors have the freedom to publish under the CC BY license, granting broad reuse and distribution permissions. The journal supports posting articles on third-party repositories, adhering to institutional and funding restrictions. Author guidelines detail copyright and licensing requirements, empowering authors with knowledge about their rights and responsibilities. These policies cultivate an environment of collaboration, openness, and responsible sharing, benefiting authors and the research community while honoring intellectual property rights.