จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมในการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ผลงานด้านการวิจัยและผลงานวิชาการ

ของวารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry-BEI)

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)

1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณากับทางวารสารฯ นั้น ต้องเป็นผลงานไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาของวารสารวิชาการอื่นๆ

2. ผู้เขียนต้องระบุชื่อผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญในกระบวนบทความนี้ให้ครบถ้วน รวมถึง ชื่อที่ปรากฏในงานนิพนธ์ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยหรือเรียบเรียงทำให้เกิดบทความตามความเป็นจริง และรายชื่อที่ปรากฏควรเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักการมีส่วนร่วม

3. เนื้อหาในผลงานต้องเป็นสิ่งที่มาจากการศึกษา ค้นคว้าและทดลอง โดยไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จ การวางตัวไม่เป็นกลางทางวิชาการ หรือดัดแปลงแก้ไขข้อมูล เพื่อประโยชน์ในด้านใดๆ ของผู้นิพนธ์

4. การนำผลงานที่เปิดเผยผ่านสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษา รูปภาพและข้อมูล รวมถึงกราฟิกในลักษณะต่างๆ ของผู้อื่น ให้ปรากฏในบทความดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้โดยตรงหรือมีการดัดแปลงแก้ไข เพื่อให้มีความต่างหรือปรับปรุงจากผลงานเดิม ต้องมีการอ้างอิงให้ชัดเจนด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ทราบว่า เนื้อหาหรือข้อมูลที่ปรากฏในบทความนั้น มีส่วนใดบ้างที่เป็นผลงานของผู้อื่น หรือระบุสิ่งที่ได้ดัดแปลงแก้ไข ทั้งในเนื้อหา ใต้ภาพและรายการอ้างอิงท้ายผลงาน ทั้งนี้หากเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์รับรองตามกฎหมาย จะต้องได้รับความยินยอมหรืออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากแหล่งที่มานั้นๆ

5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนผลงานวิจัย/ผลงานการค้นคว้าทางด้านวิชาการให้สอดคล้องตามรูปแบบและข้อกำหนดที่วารสารกำหนด เช่น รูปแบบและขนาดของตัวอักษร การกำหนดระยะ จำนวนหน้าของบทความที่ยอมให้ รูปแบบการอ้างอิง เป็นต้น

6. หากบทความดังกล่าวนั้น ได้รับทุนสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือบางส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หรือบทบาทการสนับสนุนในการดำเนินงานในด้านใดๆ ที่สำคัญ จะต้องระบุแหล่งทุนไว้ใน “กิตติกรรมประกาศ” ด้านท้ายของบทความให้มีความกระชับ มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ครบถ้วน และถูกต้องตามสัญญาหรือข้อกำหนดของแหล่งทุน

7. หากมีการศึกษา และ/หรือทดลองในมนุษย์ ผู้เขียนจะต้องมีความระมัดระวังในการนำเสนอ ตามมาตรฐานจริยธรรมการวิจัย ไม่ให้ข้อมูลที่ปรากฎสามารถเชื่อมโยงไปถึงตัวตนของผู้ที่ให้ข้อมูลได้ หากการศึกษานั้นมีความอ่อนไหวและการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ไม่ได้รับความยินยอมหรือจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือลดทอนผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลหรือการทดลองพึงจะได้รับ

8. เมื่อได้รับข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขคุณภาพของบทความจากกองบรรณาธิการ หรือผู้ประเมินบทความ ผู้เขียนจะต้องพิจารณารายละเอียดที่ได้รับ และแก้ไขตามข้อเสนอแนะดังกล่าว หากเห็นว่าจะทำให้บทความมีคุณภาพทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น หรือชี้แจงรายละเอียดในส่วนที่เห็นว่าสมควรคงไว้ โดยชี้แจงรายละเอียดการแก้ไขหรือคงไว้ในแต่ละส่วนอย่างละเอียด

9. เมื่อบทความผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากวารสารแล้ว ในขั้นตอนสุดท้าย ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจทานความถูกต้องสมบูรณ์ของต้นฉบับบทความทั้งในด้านเนื้อหา การสะกดคำ การใช้ภาษา การใช้กราฟิกและการอ้างอิง ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและตามข้อกำหนดของวารสาร ก่อนการเผยแพร่ และทักท้วงขอให้มีการแก้ไขหากเห็นว่าต้นฉบับในขั้นตอนสุดท้ายจากโรงพิมพ์มีข้อผิดพลาด

10. บทความที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่กับทางวารสาร หากผู้เขียนต้องการยกเลิกกระบวนการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดก็ตาม ที่ไม่มีสาเหตุจากการดำเนินการของวารสาร ให้ประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องของวารสารในโอกาสแรกที่กระทำได้ พร้อมกับแจ้งการยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอันเนื่องจากกระบวนการดำเนินการดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะค่าตอบแทนผู้พิจารณาบทความตามที่เบิกจ่ายจริง โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการของวารสาร เพื่อจะได้ออกเอกสารเป็นหลักฐานในขั้นต่อไป

 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสาร มีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความในวารสารที่ตนรับผิดชอบเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ในขั้นตอนแรก โดยคุณภาพดังกล่าวมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ คุณค่าทางวิชาการ ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายการตีพิมพ์เผยแพร่ของวารสาร ทั้งนี้กระบวนการพิจารณาบทความ มี 3 ลักษณะคือ

1.1 คัดกรองคุณภาพโดยการแจ้งตอบรับในเบื้องต้น เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการนำส่งผู้ประเมินบทความ

1.2 การไม่ตอบรับ (Reject) การนำส่งบทความนั้นๆ เข้าสู่กระบวนการประเมิน หากเห็นว่าบทความนั้นๆ ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของวารสารในด้านต่างๆ

1.3 การให้ผู้เขียนปรับปรุงเนื้อหาและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ก่อนพิจารณาส่งออกให้ผู้ประเมินบทความ

1.4 โดยต้องประสานกับผู้เขียนและชี้แจงรายละเอียดการแก้ไข หากผู้เขียนแก้ไขกลับมาแล้ว และเห็นว่ามีคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้ จึงจะนำส่งผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ

 

2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความยังไม่สิ้นสุด

 

3. บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องผ่านกระบวนการประเมินบทความและแก้ไขให้สมบูรณ์ครบถ้วน ตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความ และมีการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ในขั้นตอนสุดท้าย จากบรรณาธิการและกองบรรณาธิการแล้วเท่านั้น

 

4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องมีหน้าที่คัดกรอง เสนอชื่อผู้ประเมินบทความ ที่เห็นว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในทางวิชาการ อย่างน้อย 2 ท่าน เพื่อทำหน้าที่ประเมินคุณภาพของบทความนั้นๆ และประสานงาน อำนวยความสะดวก ติดตามกระบวนการประเมินของบทความนั้นๆ ร่วมกับผู้ประเมินบทความ ให้อยู่ภายในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม โดยไม่เปิดเผยข้อมูลที่จะเชื่อมโยงไปถึงตัวตนของผู้เขียนให้ผู้ประเมินบทความได้ทราบ และอาจมีความจำเป็นต้องเพิ่มผู้ประเมินบทความ

 

5. มากกว่า 2 ท่าน ในกรณีที่เห็นว่า ผลการพิจารณาคุณภาพของบทความดังกล่าวในครั้งแรก มีความก้ำกึ่งและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

6. ในระหว่างกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความ หากกองบรรณาธิการมีข้อกังขาในที่มาของเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆ ของบทความ ไม่ว่าบทความนั้นจะอยู่ในขั้นตอนกระบวนการพิจารณาใดก็ตาม ต้องหยุดกระบวนการนั้นก่อน ต้องเปิดโอกาสแก่ผู้เขียนได้ทำการชี้แจงและแสดงหลักฐานก่อน ไม่สามารถ เพื่อรับรองว่าบทความดังกล่าวนี้ มีกระบวนการศึกษาเรียบเรียงอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ ผู้ประเมินบทความ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีอคติกับผู้เขียน หรือผู้ประเมินบทความ อันเนื่องมาจากเอกลักษณ์บุคคลในด้าน เพศสภาพ รสนิยมทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนาและความเชื่อ

 

8. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องมีการตรวจสอบและคัดกรองเนื้อหาในบท ไม่ให้เกิดการความคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ทั้งการใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และกระบวนการตรวจสอบโดยการใช้เครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และมีการอ้างอิงในเนื้อหาอย่างเหมาะสมตามจรรยาบรรณในทางวิชาการ

 

9. ระหว่างกระบวนการประเมินบทความ หากกองบรรณาธิการวารสารตรวจสอบพบการการคัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือบทความดังกล่าวเคยเผยแพร่มาแล้ว ต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนเพื่อให้ชี้แจง เพื่อประกอบการพิจารณาในการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความดังกล่าว

 

10. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ ให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ตรงตามกำหนดเวลาของวารสาร กระบวนการพิจารณาคุณภาพมความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การตรวจทานคุณภาพของการแก้ไขที่ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ประเมินบทความแล้ว “จนกว่า” จะสอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่ผู้เขียนได้รับ มีความถูกต้องและมีมาตรฐานทางวิชาการให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ รวมถึงตรวจสอบรูปแบบ (Format) ของบทความทุกเรื่องให้มีความสม่ำเสมอตลอดทั้งเล่มและมีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของทิศทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการของโลก

 

11. ในกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ มีการตรวจสอบต้นฉบับร่วมกับสำนักพิมพ์ (Publisher) ร่วมกับผู้เขียน โดยให้มีการตรวจทานและแก้ไขโดยผู้เขียนในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในเชิงวิชาการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

12. หากมีการออกใบตอบรับไปแล้ว แต่มีการตรวจสอบพบปัญหาบางประการในด้านคุณภาพ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความ แต่จะทำงานร่วมกับผู้เขียนพื่อให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพของบทความนั้นๆ จนกว่าจะอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานสมควรแก่การเผยแพร่ ยกเว้นในกรณีที่มีปัญหาร้ายแรงที่จะส่งผลต่อมาตรฐานในเชิงคุณภาพ และความน่าเชื่อถือของวารสาร บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงใบตอบรับดังกล่าว

 

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

1. หลังจากได้รับการประสานงานจากวารสาร ผู้ประเมินบทความควรพิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่า เนื้อหาในบทความมีความสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของตนเองหรือไม่ ก่อนที่จะพิจารณาว่าจะตอบรับหรือปฏิเสธการทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินบทความเพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความดังกล่าว

2. หากตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างเป็นอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ

3. ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality) ไม่ว่าบทความนั้นจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในภายหลัง หรือไม่ผ่านการพิจารณา

4. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ โดยเฉพาะช่องว่างทางวิชาการ ผลการศึกษาและคุณภาพของการวิเคราะห์ วิพากษ์ของการศึกษาในเชิงลึก ที่จะสร้างผลกระทบทางวิชาการ (Impact) ในวงกว้าง ด้วยความเป็นกลาง โดยไม่มีความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย

5. ผู้ประเมินต้องให้ความสำคัญและอุทิศเวลาให้กับการประเมินคุณภาพของบทความและให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐานเป็นหลัก โดยมีการแก้ไขรูปแบบการเขียน (Format) การสะกดคำ หรือมาตรฐานการใช้ภาษาสำคัญรองลงมา ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของคุณภาพบทความในกรอบการพิจารณาของผู้ประเมินบทความ ควรประกอบไปด้วย

  - บทคัดย่อที่แสดงเนื้อหาครอบคลุมที่มา ระเบียบวิธีวิจัยและผลการการศึกษา รวมถึงข้อค้นพบในภาพรวม

  - ที่มาของการศึกษาวิจัยที่ชัดเจน ครอบคลุมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในสาขานั้นๆ ของผู้เขียน ที่สามารถระบุได้ถึงช่องว่างทางวิชาการของทิศทางการศึกษาวิจัย และแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญในสาขาดังกล่าวของผู้เขียน หากมีผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้เขียนไม่ได้อ้างถึง ให้ผู้ประเมินบทความเสนอแนะเข้าไปในการประเมินบทความด้วย

  - ความชัดเจนของวัตถุประสงค์การศึกษา

  - ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์การศึกษา กับระเบียบวิธีวิจัย

  - ผลการศึกษาที่มีการนำเสนออย่างเป็นระบบ และเป็นเหตุเป็นผล

  - การวิเคราะห์วิพากษ์ผลการศึกษา ที่แสดงให้เห็นข้อค้นพบใหม่ ข้อสังเกต ที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางวิชาการอย่างมีนัยยะ

  - รูปแบบการอ้างอิงที่ได้มาตรฐานและแสดงรายละเอียดที่ครบถ้วนตามหลักวิชาการ

6. หากมีส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย แม้ว่าบทความดังกล่าวจะได้ผ่านการพิจารณาให้เผยแพร่แล้วจากผู้ประเมินบทความ เพื่อให้กองบรรณาธิการพิจารณาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

7. หากผู้ประเมินบทความพิจารณาให้ผู้เขียนแก้ไขบทความและส่งกลับมาพิจารณาอีกครั้ง หากผู้เขียนแก้ไขแล้ว และยังไม่ได้มาตราฐานตามที่เห็นสมควร ผู้ประเมินบทความสามารถปฏิเสธ (Reject) บทความดังกล่าวไม่ให้เผยแพร่ได้ หากพิจารณาด้วยความเป็นกลางและอคติแล้วเห็นว่า ผู้เขียนยังขาดศักยภาพที่จะแก้ไขให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะดังกล่าว