เกี่ยวกับวารสาร

วารสาร สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย ทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ของนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม อันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ผังเมืองและการออกแบบ

Architecture Spatial planning Design
· Architectural theory · Current issues in urban and regional planning · Animation 
· Architectural history · Theories, models, and process in planning · Ceramics design 
· Architectural education · Spatial planning · Fashion design
· Building technology · Sustainable development · Furniture design
· Interior architecture  · GIS in spatial planning · Graphic design
· Landscape architecture · Community planning and design · Industrial design
· Thai architecture · Environmental planning and management · Textiles
· Vernacular architecture · Urban innovation ·  Product Design
· Green architecture · Participatory in planning and design ·  Toy Design
· Contemporary architecture · Infrastructure / land use and transportation planning
 

เอกสารเสนอแนะในการจัดเตรียมต้นฉบับเพื่อนำส่งบทความในระบบ Thaijo

  • 1.  ให้ผู้เขียนกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มนำเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์   https://kku.world/pyo6j  เพื่อให้ผู้เขียนรับรองว่าบทความดังกล่าวไม่เคยถูกตีพิมพ์มาก่อน หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาคุณภาพของบทความโดยวารสารอื่น ทั้งนี้ให้กรอกข้อมูลของผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกคน โดยข้อมูลที่ต้องกรอกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล สังกัด อีเมล์ (ต้องกรอกข้อมูลให้ครบทุกคน โดยเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในแบบฟอร์มตามความเหมาะสมของแต่ละบทความ)
  • 2.  รูปแบบบทความความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4   และรูปแบบบทความพร้อมการอ้างอิงต่างๆ  ดูจาก ตัวอย่างรูปแบบบทความภาษาไทย https://kku.world/s0z0w  (ปรับปรุง 1 ตุลาคม 2563) 
  • 3. หลักการอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ให้ใช้ตามแบบ APA โดยสามารถอ้างอิงได้จาก APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ของสำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
  • 4. เมื่อผู้อ่านให้ทำการแก้ไขให้ส่ง คำชี้แจงแก้ไขบทความมาด้วย ในขั้นตอนการส่งบทความที่แก้ไขกลับมา ตัวอย่าง https://kku.world/gmgx5

ในการนำส่งไฟล์ในระบบ ต้องประกอบไปด้วย 1). แบบฟอร์มนำเสนอบทความฯ 2). ต้นฉบับบทความ 3). บทความในข้อ 2) ที่ตัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียนออก (Blind manuscript for  submission) ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล สังกัด อีเมล์ กิตติกรรมประกาศ ทั้งในหน้าแรกของบทความ และกิตติกรรมประกาศด้านท้ายของบทความ (ก่อนรายเอกสารอ้างอิง) ออกหรือทำให้เป็นตัวหนังสือสีขาว แล้วแปลงไฟล์เป็น pdf เพื่อส่งออกให้ผู้ทรงพิจารณาในกรณีที่คุณภาพบทความสามารถส่งออกให้ผู้ทรงฯ พิจารณาได้ในครั้งแรก  ( ไฟล์ในข้อ 2) และ 3) ขอให้แปลงเป็นไฟล์ pdf ก่อนส่งเข้าระบบส่งบทความเพื่อป้องกันหน้าเลื่อนหรือรูปแบบคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับ)

* หมายเหตุ : E-mail ที่ตอบกลับจากระบบ Thaijo  บางครั้งเมล์ จะอยู่ใน Junk เมล์หรือถังขยะ โปรดตรวจสอบ หากท่านไม่ได้รับเมล์
 
 
 ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน  ทั้งในและนอกประเทศ  สาระบทความและแนวการเขียนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสารฯ  แต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฯ   ต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ  (Peer  reviewers)  ในสาขาและความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง  จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน โดยการประเมินแบบ double-blided
 

Language

ไทยหรืออังกฤษ

 

Publication Frequency

ปี พ.ศ. 2561 กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ ทุกเดือนมิถุนายน และธันวาคม
ปี พ.ศ. 2562 มีกำหนดออกวารสารฉบับออนไลน์ 3 ฉบับต่อปี (ทุกเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม)   พร้อมยกเลิกการตีพิมพ์เป็นเล่ม   
กำหนดส่งบทความตีพิมพ์เผยแพร่ : เปิดรับตลอดทั้งปี
ปัจจุบันมีรูปแบบการเผยแพร่วารสาร 2 รูปแบบ ได้แก่เป็นเล่มวารสาร (Print) และ เผยแพร่ออนไลน์ (Online)  

ISSN : 2651-1177 สำหรับตีพิมพ์เป็นเล่ม และ ISSN : 2651-1185 (Online)

 

หนึ่ง บทความไม่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ซึ่งผู้เขียนสามารถนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับปรุงและนำส่งใหม่ได้ในโอกาสต่อไป (กระบวนการนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันที่ ผู้เขียนนำส่งบทความในระบบออนไลน์)
สอง บทความที่ผ่านการพิจารณาในเบื้องต้น แต่ให้ผู้เขียนแก้ไขรูปแบบและภาพรวมของบทความ ภายใต้คำแนะนำจากกองบรรณาธิการ เมื่อทำการแก้ไขแล้ว จึงจะส่งออกให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาในลำดับต่อไป (กระบวนการนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันที่ ผู้เขียนนำส่งบทความในระบบออนไลน์เช่นกัน)
และสาม ผู้เขียนได้รับรายละเอียดของผู้เสนอแนะการแก้ไขบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเมื่อผู้เขียนทำการแก้ไขบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเมื่อผู้เขียนทำการปรับปรุงแก้ไขบทความเสร็จภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ส่งบทความฉบับสุดท้าย (Final Manuscript) มายังกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณาก่อนเข้าสู่ระบบตีพิมพ์ หรือนำส่งต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการแก้ไขบทความ จนกว่าจะผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ
– เมื่อบทความพร้อมที่จะตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะส่งจดหมายตอบรับ เพื่อแจ้งสถานะการตีพิมพ์ให้ผู้เขียนทราบ หลังจากบทความผ่านการประเมินแล้ว ไม่เกิน 1 เดือน
– บทความที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว หากมีการขอยกเลิกการตีพิมพ์โดยเจ้าของบทความ เจ้าของบทความดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระค่าตอบแทนให้กับผู้ทรงคุณวุฒิตามหลักฐานการเบิกจ่ายที่เกิดขึ้นจริง

กองบรรณาธิการ

ที่ปรึกษา:

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บรรณาธิการ:

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสิทธิ์ จันทะรี

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

กองบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก:

  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.อมร กฤษณพันธ์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล                         

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์                

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วันดี พินิจวรสิน

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรนาถ สินอุไรพันธ์     

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลวรรณ ทวยเจริญ    

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ                           

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชษฐ โสวิทยสกุล                              

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร                         

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธิ ลิศนันท์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

 

กองบรรณาธิการภายใน:

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตภัทร ถาปาลบุตร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนัษฎา จุลลัษเฐียร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • นางสาวลัทธพร จันทองหลาง              

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ฝ่ายประสานงาน:

  • นางมณีรัตน์ วีระกรพานิช

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • นางพิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • นางสาวหทัยรัตน์ วงศ์สุพรรณ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • นายอนุพันธ์ พันธ์อมร                                                         

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

สนับสนุนโดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น