แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอาคารในเขตร้อนชื้น
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์, การออกแบบเชิงภูมิอากาศชีวภาพ, แสงทางอ้อม, อุปกรณ์กันแดด, การระบายอากาศ ทางตั้งบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการนำแสงธรรมชาติมาใช้สำหรับอาคารในเขตร้อนชื้น ภายใต้แนวคิดที่ผนวกการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์กับการป้องกันแสงแดด โดยนำเสนอการเปรียบเทียบคุณสมบัติการใช้งาน ข้อเสียหรือข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ประกอบอาคารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการผนวกทั้งการใช้ประโยชน์และการป้องกันให้เป็นระบบเดียวกัน ในส่วนท้ายของบทความจะนำเสนอการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดช่องแสงและอุปกรณ์กันแสงแดดตรงสำหรับหลังคาที่มีระบบระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ ที่คำนึงถึงลักษณะภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและสอดคล้องกับทฤษฏีหลักการโคจรของดวงอาทิตย์ในประเทศไทย มาใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์แนวทางการออกแบบ เพื่อแก้ไขข้อเสียหรือข้อกำจัดของผลิตภัณฑ์ประกอบอาคาร โดยอ้างอิงผลการทดสอบการกันแดดโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนั้นนำไปทดสอบและทำการตรวจวัดด้านความส่องสว่างของแสงและอุณหภูมิอากาศ โดยใช้กล่องทดสอบที่ติดตั้งในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อเปรียบเทียบกับการใช้ช่องรับแสงตรง ผลการทดสอบในเบื้องต้นพบว่าชุดช่องแสงและอุปกรณ์กันแสงแดดตรงนี้สามารถป้องกันรังสีตรงของแสงแดดได้ 100% ตลอดทั้งปี ซึ่งค่าความส่องสว่างในช่วงกลางวันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความส่องสว่างประเภทอาคารพักอาศัย ในช่วงเวลา 8:00-16:30 น. ของเดือนมกราคมที่ทำการทดสอบ ให้ค่าความส่องสว่าง 100-300 lux ซึ่งมีค่าแตกต่างกับกล่องทดสอบที่ใช้ช่องรับแสงตรงประมาณ 3,000 lux เป็นค่าปริมาณที่สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานความส่องสว่างถึง 10 เท่า และการมีระบบระบายอากาศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิ จากผลการทดสอบในช่วงที่มีค่าอุณหภูมิสูงสุดจะสามารถลดอุณหภูมิลงได้ 3.1oC เมื่อเทียบกับการใช้ช่องรับแสงตรง ดังนั้นการพัฒนาชุดช่องแสงและอุปกรณ์กันแสงแดดตรงที่มีระบบระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาตินี้จึงนับเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาเพื่อการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้ในอนาคต
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2548). คู่มือข้อมูลมาตรฐานภูมิอากาศและแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในงาน ด้านพลังงานทดแทน. กระทรวงพลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์จากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย. กระทรวงพลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทน ชุดที่ 2 พลังงานแสงอาทิตย์. กระทรวงพลังงาน
ณัฏรี ศรีดารานนท์. (2554). การพัฒนาชุดช่องแสงและอุปกรณ์กันแสงแดดตรงบนหลังคาสำหรับอาคารทาวน์เฮ้าส์ในประเทศไทย. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมอาคาร) สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตรึงใจ บูรณสมภพ. (2539). การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
พิบูลย์ ดิษฐอุดม. (2540). การออกแบบระบบแสงสว่าง. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น
สมสิทธิ์ นิตยะ. (2541). การออกแบบอาคารสำหรับภูมิอากาศเขตร้อน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุนทร บุญญาธิการ. (2551). นวัตกรรมการใช้กระจกสำหรับเมืองร้อนชื้น. กรุงเทพฯ: หจก.คูลพริ้นท์
CIE. (2002). International Standard ISO 8995: Lighting of Indoor Work Places, 2nd edition. International Commission on Illumination, Switzerland.
Duffie, J.A., and W.A. Beckman. (1991). Solar Engineering of Thermal Processes. New York, NY: John Wiley and Sons, Inc.,
IESNA. (1993). IESNA Lighting Handbook, 8th edition. Illuminating Engineering Society of North America, New York, NY, USA.
Lechner, N. (1991). Heating, Cooling, Lighting: Design Methods for Architects. New York, NY: John Wiley & Sons, Inc.,
Olgyay, A., and V. Olgyay. (1957). Solar Control and Shading Devices. Princeton, NJ: Princeton University Press.
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
กลุ่มวิชาการและมาตรฐาน สำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน. (2553). กระจกหน้าต่างอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมแสง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559. จาก http://www2.dede.go.th/bhrd/displaycenter/commercial-
building.php?sub=9
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ