การศึกษาแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่า-ใหม่ ตามแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของใน “ระบบ 1 เมือง 2 แบบ”

ผู้แต่ง

  • พงศ์ตะวัน นันทศิริ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาัลยราชภัฏเชียงราย
  • ศศิชา สุขกาย สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาัลยราชภัฏเชียงราย
  • ศักดิธัช เสริมศรี สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาัลยราชภัฏเชียงราย
  • ทิพา หน่อแก้วมูล สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาัลยราชภัฏเชียงราย
  • กฤษณะพันธุ์ ตันเจริญรัตน์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาัลยราชภัฏเชียงราย
  • คงฤทธิ์ เหลืองไตรรัตน์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาัลยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ภูมิทัศน์เมือง, ระบบ 1 เมือง 2 แบบ, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, Urban Landscape, One City Two Models System, Special Economic Zone

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบภูมิทัศน์เมืองที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองเชียงของโดยใช้แนวคิด “ระบบ 1 เมือง 2 แบบ” คือ การพัฒนาให้เป็นไปอย่างมีความสมดุลระหว่างการเป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษกับความเป็นเมืองที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อเสนอรูปแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองเชียงของให้สอดคล้องแนวคามคิดการพัฒนาดังกล่าว โดยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 หน่วยภูมิทัศน์ ตามการสำรวจลักษณะกายภาพเมืองเชียงของ และใช้แบบสอบถามจำนวน 140 ชุด ในการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการใช้พื้นที่ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว และรับฟังความคิดเห็นที่เป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางการการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง

ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้ง 7 หน่วย มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะกายภาพของพื้นที่ แต่จะมีความสอดคล้องกันด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันในแต่ละหน่วยภูมิทัศน์ ซึ่งมีภาพรวมของการปรับปรุงภูมิทัศน์ คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่สาธารณะเมือง เพื่อรองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นและตอบสนองความต้องการใช้งานในแต่ละหน่วยภูมิทัศน์ โดยแนวความคิดหลักคือการนำองค์ประกอบทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นที่เชียงของ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และประเพณี ออกมาในงานภูมิสถาปัตยกรรม นอกจากเป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองให้มีทัศนียภาพที่สวยงามแล้ว ยังเป็นการสร้างพื้นที่เรียนรู้คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม สำหรับนักท่องเที่ยวและชาวเมืองเชียงของไปอีกทางหนึ่ง

References

เกริก กิตติคุณ และคณะ. 2560. การออกแบบภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย [ฉบับอิเล็คทรอนิค]. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (1), 12-25.

จามรี อาระยานิมิตสกุล. 2558. ภูมิสถาปัตยกรรมเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว และคณะ. 2557. เชียงของ เวียงแก่น: พัฒนาการของสังคมชายขอบจากอดีตสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

_______. 2558. เชียงของ 1 เมือง 2 แบบ เชียงราย: วารสารพิเศษ: โรงเรียนเรารักเชียงของ.

ปรานอม ตันสุชานนท์. 2556. การอนุรักษ์ชุมชนเมือง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิชา สุขกาย และคณะ. 2560. การประเมินคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียงของ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”. (3), 333-347.

ศศิยา ศิริพานิช. 2558. ภูมิทัศน์พื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: คณะเกษตร. สาขาวิชาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2551. การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อังสนา บุณโยภาส และสุพิชฌาย์ เมืองศรี. 2558. การศึกษาแนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์หาดสมิหลาถนนชลาทัศน์เพื่อการนันทนาการ [ฉบับอิเล็คทรอนิค]. วาระสารการประชุมวิชาการระดับชาติ“สถาปัตย์กระบวนทัศน์”, (1), 463-477.

Paul Selman. 2006. Planning at the Landscape Scale. New York: Routledge.

อ้างอิงสัมภาษณ์

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว. ผู้อำนวยการโรงเรียนเรารักเชียงของ. สัมภาษณ์โดย นางสาวศศิชา สุขกาย. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25