การกระจายเชิงพื้นที่ของหมู่บ้านจัดสรรภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ: กรณีศึกษา เขตหนองจอก

ผู้แต่ง

  • ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การกระจายเชิงพื้นที่, หมู่บ้านจัดสรร, เขตหนองจอก

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร และเพื่อวิเคราะห์แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของหมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่เขตหนองจอก เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการสำรวจภาคสนามโดยตรง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเขตหนองจอก มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่  โดยทำการวิเคราะห์หาแบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของหมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่เขตหนองจอก จากตำแหน่งของหมู่บ้านจัดสรรร่วมกับรูปแบบของหมู่บ้านจัดสรร

            ผลการวิจัย พบว่า หมู่บ้านจัดสรรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เขตหนองจอก มีจำนวนหมู่บ้านจัดสรรทั้งสิ้น 104 แห่ง พบหมู่บ้านประเภทบ้านเดี่ยวมากที่สุด กว่าร้อยละ 52.90 และพบประเภทหมู่บ้านจัดสรรที่มีความหลากหลายแบบผสมเพิ่มเติมด้วย โดยผลการวิเคราะห์แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ พบว่ามีการกระจายเชิงพื้นที่แบบกระจุกตัวหรือเป็นกลุ่มก้อน โดยจะกระจุกตัวอยู่บริเวณที่มีความเป็นเมืองสูง และบริเวณเส้นทางการคมนาคม ซึ่งตรงตามทฤษฎีแหล่งกลาง (Central Place Theory) ของ Walter Cristaller (1933) และทฤษฎีการแพร่กระจายทางพื้นที่ (Spread Theory) ของ Erik Bylund (1960) ที่กล่าวถึงปัจจัยอื่น ที่นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในการประกอบการตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระยะทางจากแหล่งงานหรือสถานที่สำคัญใกล้เคียง ทั้งยังพบว่าหมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีการตั้งอยู่ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีเขียว)  ถึงร้อยละ 60.57 ของหมู่บ้านทั้งหมดในเขตหนองจอก อีกทั้งยังพบหมู่บ้านจัดสรรประเภทบ้านทาวน์เฮ้าส์บนที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) โดยที่ดินดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและแหล่งเกษตรกรรม ซึ่งผิดไปตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 โดยจากผลการวิจัย และข้อค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง ผู้วางโครงข่ายการคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมและดูแลการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับ โดยผลจากการขาดการควบคุมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและความเพียงพอของสาธารณูปโภค – สาธารณูปการในอนาคต โดยควรที่จะกำกับดูแลการตั้งหมู่บ้านจัดสรรให้เป็นไปตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน พร้อมทั้งวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมต่อความต้องการในอนาคต

References

เอกสารอ้างอิง

กษิดิ์เดช เนตรทิพย์. (2558). “การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของหอพักนิสิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ เข้าพักอาศัย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร”. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชยินทร์ ศรีสุราช. (2554). “แนวทางการฟื้นฟูตลาดเก่า: กรณีศึกษา ตลาดฉัตรไชย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์”. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฑันฑิกา เดชะศิริ. (2550). “การกระจายตัวปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจรถเช่า กรณีศึกษาอำเภอเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bylund, E. (1960). Theoretical consideration regarding the distribution of settlements in inner north Sweden. Geografika anoler.

Stephen, W., & Max, C. (2008). GIS and Evidence-Based Policy Making. New York: CRC Press Taylor & Francis Group.


ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

กรมที่ดิน. (2550). ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จาก http://download.asa.or.th/03media/04law/fubr/b2_lsbma-57.pdf.

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2556). กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จาก http://eservices.dpt.go.th/urbanplanning/fileload/reg/10010014.pdf.

เชษฐพล มานิตย์. (2559). รู้เรื่องกฎหมายผังเมืองกรุงเทพฯ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จาก http://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ควรรู้ก่อนเช่า/รู้เรื่องกฎหมายผังเมืองกรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). หมู่บ้านจัดสรร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จากhttp://rirs3.royin.go.th/word1/word-1-a0.asp.

ลักษณา สัมมานิธิ. (2550). แนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐาน: ทฤษฎีการวางแผนและเมือง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จาก http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/la471/teacher.html

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. (2559). 11 ทำเลเด่น กรุงเทพฯปริมณฑล ปี 2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560.จาก http://www.thansettakij.com/content/24408.

สำนักงานเขตหนองจอก. (2559). สภาพทั่วไปของขอบเขตหนองจอก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จาก http://www.bangkok.go.th/nongchok/page/sub/1370/ข้อมูลทั่วไปของเขต.

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2556). แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้
บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560. จาก
http://cpd.bangkok.go.th:90/web2/NEWCPD2556/02_cpd56.pdf.

Christaller, W. (1933). Central Place Theory by Walter Christaller. [Web log post]. Retrieved from https://planningtank.com/settlement-geography/central-place-theory-walter-christaller.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25