ความเข้าใจและการให้ความสำคัญต่อเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมไทยในมุมมองสถาปนิก

ผู้แต่ง

  • กฤตยชญ์ ธนะกรรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เกณฑ์การประเมินอาคารเขียว, อาคารเขียว, ความยั่งยืน, TREES

บทคัดย่อ

แนวคิดอาคารเขียวเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการแสวงหาแนวทางการออกแบบเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมองหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการออกแบบอาคารเขียวจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมากเพื่อทำให้อาคารมีความเขียวตามมาตรฐานที่ผู้ออกแบบเลือกใช้ งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาความเข้าใจและการให้ความสำคัญต่อเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (TREES) ในมุมมองสถาปนิก โดยใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างสถาปนิกจำนวน 37 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจต่อแนวทางในการออกแบบอาคารเขียวสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน TREES ยกเว้นด้านการบริหารจัดการอาคารและด้านนวัตกรรม ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในประเด็นการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประเด็นพลังงานและบรรยากาศมากที่สุด สำหรับข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการออกแบบอาคารเขียวมากที่สุด ได้แก่ การขาดความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบ สำหรับแนวทางในการลดข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการออกแบบอาคารเขียวตามเกณฑ์การประเมิน TREES ได้แก่ (1) สถาบันอาคารเขียวไทยควรมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่เกณฑ์การประเมิน TREES ตลอดจนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินแก่สถาปนิกให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น (2) การส่งเสริมหรือเพิ่มโอกาสแก่บุคลากรในการพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบอาคารเขียว ตลอดจนการสร้างค่านิยมในการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารเขียว

References

เอกสารอ้างอิง

กชกร อาจน้อย. (2556). “ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอาคารเขียว : กรณีศึกษาอาคารเขียวในประเทศไทย”.

วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีโครงสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง) คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เกชา ธีระโกเมน. (2547). “การประเมินระดับมาตรฐานอาคารยั่งยืน”. Journal of Architectural Research and
Studies 2: 3-20.

เฟรนด์, กิล. (2014). The Truth About Green Business. USA: FT Press. สฤณี อาชวานันทกุล (แปล). (2557).
เขียวเปลี่ยนโลก. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.


อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2557). นิเวศวิทยาสถาปัตย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Clarke, A. (2006). “The campus environmental management system cycle in practice: 15 years of
environmental management, education and research at Dalhousie University”. International Journal of Sustainability in Higher Education 7 (4): 374-389.

Forgues, D. and L. Koskela. (2009). “The influence of a collaborative procurement approach using
integrated design in construction on project team performance”. International Journal of
Managing Project in Business 2 (3): 370-385.

Ghani, F. (2012). “Issues in Sustainable Architecture and Possible Solutions”. International Journal
of Civil & Environmental Engineering 12 (1): 21-24.

Li, W. (2011). “Sustainable design for low carbon architecture”. International Journal of Procedia
Environmental Sciences 5: 173–177.

Moseki, L.K., E. Tembo and C.E. Cloete. (2011). “The principles and practice of facilities maintenance in
Botswana”. Journal of Corporate Real Estate 13 (1): 48-63.

Richardson, G.R.A. and J.K. Lynes. (2007). “Institutional motivations and barriers to the construction of
green buildings on campus: a case study of the University of Waterloo, Ontario”. International Journal of Sustainability in Higher Education 8 (3): 339-354.


ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

กองบรรณาธิการ. (2559). Green Building and Green Society เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี. วารสารอินทาเนีย. [ออนไลน์].
สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2559, จาก https://rss.shareinformation.info/ecartupload/71_V15_N05_85.pdf\.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). การพัฒนาเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ในงานวิจัย. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2559, จาก ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc.
สถาบันอาคารเขียวไทย. (2554). เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ
13 เมษายน 2559, จาก https://www.tgbi.or.th/index.php

United Nations. (2016). Sustainable Development: From Brundtland to Rio 2012. [Online]. Retrieved April
12, 2016, from https://www.un.org/wcm/webdav/site/climatechange/shared/gsp/docs/ GSP1-6_Background%20on%20Sustainable%20Devt.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25