การรับรู้งานสถาปัตยกรรมของนักเรียนตาบอดด้วยการสัมผัส หุ่นจำลอง 3 มิติ กรณีศึกษา พระเจดีย์ใหญ่สามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2021.6คำสำคัญ:
คนตาบอด, วัดพระศรีสรรเพชญ์, หุ่นจำลองงานสถาปัตยกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาการรับรู้จากการสัมผัสหุ่นจำลองสถาปัตยกรรมของนักเรียนตาบอดในโรงเรียน
แบบเรียนรวมที่มีนักเรียนตาบอดเรียนร่วมกับนักเรียนที่มองเห็น โดยมีกรณีศึกษา หุ่นจำลองพระเจดีย์ใหญ่สามองค์
วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ผลิตขึ้นจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์วัตถุ 3 มิติ มีวิธีดำเนินการวิจัย
เชิงคุณภาพโดยการลงพื้นที่สัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วม และการสังเกตการณ์ กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นนักเรียน
ตาบอดระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนตาบอดสามารถรับรู้และเรียนรู้ด้วยการสัมผัสหุ่นจำลอง โดยมีครูผู้สอนบรรยาย
เนื้อหาและส่วนประกอบต่างๆ ประกอบกับการใช้กิจกรรมแบบเทคนิคการจับคู่นักเรียนตาบอดกับเพื่อนนักเรียน
ที่มองเห็นเป็นผู้ช่วยอธิบายลักษณะของหุ่นจำลองทีละส่วนอย่างค่อยเป็นค่อยไป นักเรียนตาบอดเข้าใจเกี่ยวกับ
การเทียบสัดส่วนของหุ่นจำลองที่ถูกย่อขนาดให้เล็กลง โดยอาศัยทักษะวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและ
การเคลื่อนไหว นักเรียนตาบอดมีความเข้าใจเป็นความคิดรวบยอดได้ว่า พระเจดีย์มีส่วนประกอบที่เหมือนกัน
ทั้งสามองค์ โดยแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนยอด ส่วนองค์พระสถูป และส่วนฐาน ตามลำดับ พระเจดีย์เป็น
รูปทรงกรวยกลมคล้ายระฆังที่วางคว่ำอยู่ถูกวางเรียงตัวกันและมีพื้นที่ว่างระหว่างองค์พระเจดีย์ทั้งสาม
เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์วัตถุ 3 มิติ มีความเหมาะสมในการนำมาใช้พัฒนาเพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้ สามารถขึ้น
รูปทรงให้หุ่นจำลองมีความแข็งแรงและมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ อีกทั้งวัสดุหาซื้อง่าย ผลิตเองได้ ทำซ้ำได้ และแบ่งปัน
ไฟล์ดิจิตอลของหุ่นจำลองให้แก่โรงเรียนที่เป็นเครือข่ายได้ ควรมีการส่งเสริมศิลปะและงานสถาปัตยกรรมของไทยให้
แก่นักเรียนในห้องเรียนแบบเรียนรวมได้รู้คุณค่าและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนตาบอด การศึกษานี้สามารถ
ต่อยอดไปสู่การสร้างพื้นที่นิเวศน์และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในวิชาศิลปะให้แก่นักเรียนตาบอดในห้องสมุดของโรงเรียน
แบบเรียนรวม เกิดพัฒนาการและการเจริญเติบโตในด้านอารมณ์ สติปัญญา และสุนทรียภาพ ดังที่ศิลปศึกษาพึงมีให้
References
http://www.artbeyondsight.org/sidebar/aboutaeb.shtml
Kennedy, John M. (1993). Drawing and the blind: picture to touch. London: Yale University.
The MyMiniFactory Vision. (2018). 3D Printable : Ayutthaya - Wat Phra Si Sanphet. Retrieved
from https://www.myminifactory.com/object/3d-print-ayutthaya-wat-phra-si-sanphet-20526
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. ม.ป.ท.
เฉลิม รัตนทัศนีย. (2539). วิวัฒนาการศิลปสถาปัตยกรรมไทยพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม.
แฉล้ม แย้มเอี่ยม, ผู้แปล. (2531). การฟื้นฟูสมรรถภาพของคนตาบอดในชนบทและการฝึกผู้สอนคนตาบอดในท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ: ดอนบอสโกการพิมพ์.
ประพัทธ์ ชัยเจริญ. (2521). เทคนิคการผลิตสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์.
รัจรี นพเกตุ. (2540). จิตวิทยาการรับรู้. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ. เข้าถึงได้จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
สถาบันราชภัฎนครราชสีมา. (2559). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม. เข้าถึงได้จาก
http://web.nrru.ac.th/web/special_edu/1-1.html
สมคิด จิระทัศนกุล. (2544). วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคนอื่นๆ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ : เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน. นนทบุรี: ไทยร่มเกล้า.
สัญชัย สันติเวส และคณะ. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาศิลปะในชั้นเรียนแบบเรียน
รวมที่มีนักเรียนตาบอดระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและการทดลองขยายผล” สนับสนุนโดยทุนมุ่งเป้า วช. และ สกว. ปี พ.ศ. 2561.
สัญชัย สันติเวส. (2557). การรับรู้ที่ว่างและสภาพแวดล้อมโดยการแสดงออกผ่านทางการวาดภาพระบายสีของคนตาบอด.
วารสารวิชาการปีที่ 13 ปี 2557 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41-54.
สันติ เล็กสุขุม. (2544). ศิลปะอยุธยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ