การปรับตัวที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของย่านชุมชนเก่า ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปัณฑารีย์ ชูตระกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
  • กฤตพร ห้าวเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.2

คำสำคัญ:

การปรับตัว, การคงอยู่, การจัดการเชิงระบบ, ระบบกิจกรรม, ชุมชนนางเลิ้ง

บทคัดย่อ

โลกาภิวัฒน์นำไปสู่สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงต่อความเป็นเมืองของกรุงเทพมหานครตั้งแต่พ.ศ.2503
ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจได้ส่งผลต่อย่านชุมชนเก่าที่สำคัญในมิติของความเป็นพลวัตในด้านกาพภาพ สังคม และเศรษฐกิจ โดยชุมชนนางเลิ้งเป็นหนึ่งในย่านชุมชนเก่าที่มีความสำคัญด้านการค้าและศิลปะวัฒนธรรมนับตั้งแต่ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับผลกระทบจากการพัฒนาและสถานการณ์ต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชนนางเลิ้งสามารถรักษาวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนให้ยังคงอยู่ เหตุนี้จึงมีการศึกษาถึงพัฒนาการและบทบาทของชุมชนนางเลิ้ง ประกอบกับการปรับตัวของชุมชนนางเลิ้ง นำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของย่านชุมชนเก่า โดยผลจากการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางสังคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และบริบทสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดบทบาทในแต่ละช่วงเวลา และปัจจุบัน ผลพวงจากการพัฒนาเมืองและสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้ชุมชนนางเลิ้งปรับตัวผ่านการจัดการเชิงระบบที่สามารถสร้างกิจกรรมร่วมสมัยที่ก่อให้เกิดมูลค่าและยกระดับศักยภาพของทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระบบกิจกรรมที่มีการขับเคลื่อนและรักษาบทบาทของชุมชนให้ยังคงอยู่ซึ่งวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และในด้านการจัดการยังคงพบประเด็นที่ต้องเสนอแนะเพื่อให้เกิดกระบวนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ด้านการวางแผนควรมีการร่วมกันวางแผนในแต่ละภาคส่วนเพื่อวางกรอบทิศทางการดำเนินงาน ด้านการจัดการองค์กรควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานที่สอดรับตามความเชี่ยวชาญ ด้านการประสานงานต้องมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการใช้ทรัพยากรในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะให้แก่ชุมชน และด้านการประเมินผลจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินงาน โดยการศึกษาครั้งนี้สามารถเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนผ่านการจัดการเชิงระบบที่ก่อให้เกิดการคงอยู่ของชุมชน รวมทั้ง เกิดประโยชน์เชิงวิชาการแก่นักวิชาการหรือผู้ที่สนใจมุมมองของชุมชนที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในเมืองนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไป

 

References

กรุงเทพมหานคร. (2562). Bangkok 250. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562.
จาก http://bangkok250.org/strategy/.
ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2550). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยา
สิรินธร (องค์การมหาชน).
เยี่ยมยทุธ สุทธิฉายา. (2562). เดินดูนางเลิ้งเมื่อวัฒนธรรมถูกใช้รองรับการพัฒนา สู่คำถามสิทธิในเมืองที่เท่าเทียม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. จาก https://prachatai.com/journal/2019/01/80466
สำนักงานจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2559). คู่มือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภท
ย่านชุมชนเก่า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. จาก http://www.onep.go.th/nced/%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2/
Chapin, S.F. (1972). Urban Land Use Planning. (3rd ed). Urbana: University of llinois Press.
Engestrom, Y. (1987). Learning by expanding. An activity-theoretical approach to developmental research. Helsinki: Orienta-Konsultit.
Green, W., & Doershuk, J. F. (1998). “Cultural resource management and American archaeology”. Journal of Archaeological Research. 6(2): 121–167.
Katz, D. & Kahn, R. L. (1966). The Social Psychology of Organizations. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Book Company.
Leslie, R.M. (2005). The oxford handbook of health, communication, behavior change and treatment adherence. New York: Oxford university Press.
Shaffer, R., Deller, S., & Marcouiller, D. (2006). “Rethinking Community Economic Development”. Economic Development Quarterly. 20(1): 59–74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27

How to Cite

ชูตระกูล ป., & ห้าวเจริญ ก. (2021). การปรับตัวที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของย่านชุมชนเก่า ชุมชนนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(1), 21–36. https://doi.org/10.14456/bei.2021.2