อิทธิพลของรูปแบบทางกายภาพของอุปกรณ์บังแดดต่อค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศุภกฤต พงษ์อุดมกูล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.4

คำสำคัญ:

อุปกรณ์บังแดด, สัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด, ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร, ภาวะน่าสบายทางอุณหภาพ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น รังสีอาทิตย์ในเวลากลางวันสามารถเข้ามาในอาคารผ่านทางช่องเปิด จึงได้รับทั้งแสงสว่างและความร้อน ทำให้ผู้ใช้งานในอาคารส่วนใหญ่ใช้เครื่องปรับอากาศลดอุณหภูมิในอาคาร ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน อุปกรณ์บังแดดจึงมีความสำคัญในการลดรังสีอาทิตย์เข้าสู่ภายในอาคารเพื่อภาวะน่าสบายทางอุณหภาพแก่ผู้ใช้งาน และลดภาระของเครื่องปรับอากาศ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาอิทธิพลของรูปแบบทางกายภาพของอุปกรณ์บังแดดเพื่อลดรังสีอาทิตย์เข้าสู่อาคาร ส่งผลให้ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (OTTV) ลดลง เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกของอาคาร (OTTV) โดยรวบรวมขนาดหน้าต่างมาตรฐานในประเทศไทย โดยเลือกขนาดหน้าต่าง 60×120 เซนติเมตร ติดตั้งอุปกรณ์บังแดดขนาด 90×150 เซนติเมตร เป็นตัวแทนการทดสอบ ทดสอบ 4 ระยะยื่น คือ 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ อุปกรณ์บังแดดแนวนอน แนวตั้ง และแบบผสม จากนั้นคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) ทั้ง 8 ทิศ ผ่านโปรแกรมเสริม SC Calculation ใน SketchUp Pro 2019

ผลการทดสอบพบว่า การเพิ่มระยะยื่นของอุปกรณ์บังแดดแนวนอนมีอิทธิพลในการบังแดดมากที่สุดในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศใต้ โดยมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) คือ 0.696, 0.697, 0.790 ตามลำดับ การเพิ่มระยะยื่นของอุปกรณ์บังแดดแนวตั้งมีอิทธิพลในการบังแดดมากที่สุดในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทิศใต้ โดยมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) คือ 0.756, 0.757, 0.814 ตามลำดับ ส่วนการเพิ่มระยะยื่นของอุปกรณ์บังแดดแบบผสมมีอิทธิพลในการบังแดดมากที่สุดในทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดด (SC) คือ 0.604, 0.638, 0.638 ตามลำดับ

References

Buranasomphob, T. (1978). kānʻō̜kbǣp sathāpattayakam mư̄ang rō̜n nai prathēt Thai [Design Criteria for Tropical Architecture in Thailand] (2nd ed.). Bangkok: Silpakorn University.
Deeratwisate, W., & Thongkamsamut, C. (2013). ʻitthiphon khō̜ng chō̜ng pœ̄t læ watsadu ʻākhān tō̜ phārakān thamkhwām yen khō̜ng rabop prap ʻākāt [Influence of Building Fenestrations and Materials on Cooling Load]. Built Environment Inquiry Journal, 12(2), 60-73.
Ngamwiwatsawang, S. (2008). kānčhat tham pratū nātāng māttrathān khō̜ng prathēt Thai [Formation of Standardized Door and Window for Thailand]. (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.
Yanachai, K., Kuhaprema, T., & Wayupurk, P. (2009). kānsưksā kānlot phāra khwām rō̜n čhāk ʻuppakō̜n kandǣt phāinō̜k ʻākhān nai phư̄nthī nātāng kračhok phư̄a kān prayat phalangngān faifā nai khrư̄ang prap ʻākāt : kō̜ranī sưksā hō̜ngsamut chan sō̜ng ʻākhān santhanākān sathāban mareng hǣng chāt [A Study of Load Reduction by Outside Shading Device on The Fenestration Area for Electrical Saving in Air Conditioning: Case Study Library on 2nd Floor, Sunthanakarn Building, National Cancer Institute]. Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology), 1(2), 40-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23

How to Cite

พงษ์อุดมกูล ศ., พิริยะศรัทธา พ., & ทองคำสมุทร ช. (2021). อิทธิพลของรูปแบบทางกายภาพของอุปกรณ์บังแดดต่อค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดของอุปกรณ์บังแดดในประเทศไทย. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(1), 49–61. https://doi.org/10.14456/bei.2021.4