การศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนของการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นด้วยวิธี CLTD/CLF เปรียบเทียบกับการคำนวณโดยจำลองด้วยระบบโปรแกรม DOE2.1E
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2021.13คำสำคัญ:
CLTD/CLF, ค่าภาระการทำความเย็น, โปรแกรม DOE2.1E, ค่าความคลาดเคลื่อนบทคัดย่อ
ระบบปรับอากาศเป็นระบบที่มีการใช้พลังงานมีค่าสูงถึง 40-60 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคารที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ดังนั้นการคำนวณหาค่าภาระการทำความเย็นที่แม่นยำ จะสามารถส่งผลถึงการอนุรักษ์พลังงานในด้านต่าง ๆ อีกทั้งยังส่งผลในการเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่เหมาะสมกับภาระการทำความเย็นที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบปรับอากาศลงได้อีกด้วย ในประเทศไทยการคำนวณค่าภาระทำความเย็นด้วยวิธี CLTD/CLF เป็นวิธีการที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นวิธีที่รวดเร็ว และ ยังสามารถทำความเข้าใจในหลักการได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้ระบบโปรแกรมที่ซับซ้อนเข้ามาช่วยในการคำนวณ หากแต่ผลลัพธ์ที่ได้จะมีความถูกต้องแม่นยำน้อยกว่าการคำนวณด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงได้ทำการศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนของการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นของอาคารด้วยวิธี CLTD/CLF เปรียบเทียบกับการคำนวณโดยจำลองด้วยระบบโปรแกรม DOE2.1E
จากการศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนจากการเลือกกลุ่มของผนังที่ใช้ในการคำนวณด้วยสมการ ในการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นด้วยวิธี CLTD/CLF ได้ทำการเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มของผนังที่กำหนด (Group F) และ กลุ่มผนังใกล้เคียง (Group E และ Group G) ผนัง Group E มีค่าความคลาดเคลื่อนจาก ผนัง Group F ซึ่งเป็นกลุ่มผนังที่กำหนด เท่ากับ 4.31% และ ผนัง Group G มีค่าความคลาดเคลื่อนจาก ผนัง Group F เท่ากับ 6.77% โดยผนังทั้งสองกลุ่มมีค่าคาวามคลาดเคลื่อนเฉลี่ยจากกลุ่มผนังที่กำหนด เท่ากับ 5.54% และ ผลการศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนของการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นด้วยวิธี CLTD/CLF เปรียบเทียบกับการคำนวณโดยจำลองด้วยระบบโปรแกรม DOE2.1E ver.121 พบว่า ในการคำนวณด้วยวิธี CLTD/CLF ด้วยค่า CLTD จากกลุ่มผนังที่กำหนด (Group F) ผลการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นจากวิธีการทั้งสองรูปแบบ มีความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.72% และ การคำนวณค่าภาระการทำความเย็นด้วยวิธี CLTD/CLF ด้วยค่า CLTD จากกลุ่มผนังใกล้เคียง (Group E และ Group G) มีค่าความคลาดเคลื่อน เท่ากับ 3.55% และ 7.44% ตามลำดับ
References
American Society of Heating. (1989). ASHRAE Handbook of Fundamentals. Atlanta: Refrigerating and Air Condition Engineers.
Pita, Edward G. (2002). Air-Conditioning Principles and Systems. 4th. New Jersey: Prentice-Hall.
The U.S. Department of Energy. DOE-2 Reference Manual Part1 Version2.1. Retrieved January,2021 from: https://doe2.com/Download/DOE-21E/DOE-2ReferenceManualVersion2.1A.pdf
เอกสารอ้างอิงภาษาไทย
Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2016). Studying Energy Consumption Criteria in Resident Building and Creating the Energy-Saving House model Project. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2559). โครงการศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในบ้านพักอาศัยและสร้างต้นแบบบ้านประหยัดพลังงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Department of Alternative Energy Development and Efficiency. (2018). Studying to Formulate Resident Building Energy Efficiency Standards Project. Bangkok: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2561). โครงการศึกษาเพื่อจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานบ้านที่อยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Ministry of Energy. (2558). Energy Efficiency Plan; EEP 2015. Retrieved January,2021 from: http://www.eppo.go.th/images/POLICY/PDF/EEP2015.pdf.
กระทรวงพลังงาน. (2015). แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2558-2579 (Energy Efficiency Plan; EEP 2015). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://www.eppo.go.th/images/POLICY/PDF/EEP2015.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ